หน้าแรก ติดล้อสตอรี่ TIDLOR Hackathon วิธีบ่มเพาะ ‘Innovator’ สไตล์ ‘เงินติดล้อ’

TIDLOR Hackathon วิธีบ่มเพาะ ‘Innovator’ สไตล์ ‘เงินติดล้อ’

22 พฤษภาคม 2566
TIDLOR Hackathon  วิธีบ่มเพาะ ‘Innovator’ สไตล์ ‘เงินติดล้อ’

เพราะ ‘คน’  คือผู้สร้างและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ เงินติดล้อ จึงไม่เคยหยุดทุ่มเทและให้ความสำคัญกับการ ‘สร้างคน’ อย่างที่คุณเบอร์นาร์ด โช ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศของเงินติดล้อเล่าว่า “หลายคนมักถามว่าทำไม ‘เงินติดล้อ’ จึงสามารถสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนในอุตสาหกรรมเพื่อประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีได้อย่างรวดเร็ว เงินติดล้อมีความลับอะไร ซึ่งผมอยากบอกว่า ไม่ใช่เพราะเรามี MD ที่มีวิสัยทัศน์แบบ Forward Thinking ไม่ใช่เพราะเรามีผู้บริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์หลากหลาย แต่เพราะเรามี ‘ชาวเงินติดล้อ’ ที่กล้าคิด กล้าลอง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และพร้อมส่งต่อ Mindset นี้ ให้กับชาวเงินติดล้อรุ่นต่อ ๆ ไป” และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้ TIDLOR Hackathon กลายเป็นหนึ่งในกระบวนการบ่มเพาะ ‘Innovator’ หรือ นวัตกรของเงินติดล้อ

 

ทำไมต้อง Hackathon?

Hackathon คือกระบวนการที่องค์กรชั้นนำในสาย Tech ใช้ เพื่อเฟ้นหาไอเดียใหม่ๆ มาพัฒนาหรือสร้าง ‘นวัตกรรม’ และเงินติดล้อได้นำกระบวนการนี้มาใช้ในวงการ Non-Bank ของไทยเป็นครั้งแรก โดยได้รับคำปรึกษาจาก RISE Thailand องค์กรที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ เพื่อร่วมกันดีไซน์ Hackathon ที่เหมาะกับเงินติดล้อ ตามโจทย์ ‘Happily Do More with Less’ ที่ต้องการให้ชาวเงินติดล้อทำงานอย่างชาญฉลาดและมีความสุขมากขึ้น เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้าเงินติดล้อให้สะดวกสบายและง่ายขึ้นผ่านผลิตภัณฑ์และบริการสินเชื่อและประกันภัยของเรา ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนานวัตกรรมและคิดค้นหาวิธีการเพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้ดียิ่งๆ ขึ้น และเป้าหมาย TIDLOR Hackathon ก็ไม่ใช่การมุ่งเน้นหาแต่ ‘ผู้ชนะ’ แต่ระหว่างทางนี่แหละที่เป็นโอกาสทองให้ชาวเงินติดล้อได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์จากการลองผิดลองถูกและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ไอที และการปั้น Start-up โดยเฉพาะผ่านการนำเสนอไอเดียแบบ Pitching

ซึ่งจะทำให้ทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขันได้ขุดเอาทักษะทั้งหมดที่ตัวเองมี ไม่ว่าจะเป็น Design Thinking (กระบวนการคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างสรรค์วิธีการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด) การคิดแบบ Lean Process (วิธีการเพิ่มประสิทธิผลการทำงานโดยลดความซับซ้อนยุ่งยาก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวเงินติดล้อได้เรียนรู้สะสมผ่านหลักสูตรที่บริษัทจัดให้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ TIDLOR Hackathon ยังเป็นคำตอบของแนวทางการทำงานแบบ Smart Execution : Do More with Less ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานที่เงินติดล้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2023 นี้


รวมถึงยังเปิดโอกาสให้ชาวเงินติดล้อ ทั้งทีมที่เข้าร่วมแข่งขันและคนที่ตามเชียร์ได้เรียนรู้ พร้อมรับการเสริมคมความคิดจากผู้รู้ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ เช่น คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ CEO KT Venture Capital, ผศ.ดร. วรรณวิภา ศิริวัฒน์เวชกุล Head of University, Rise รวมถึงผู้บริหารเงินติดล้อ อย่างคุณเบอร์นาร์ด โช ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ คุณฐิติเดช ศรีมารยาท ผู้อำนวยการอาวุโส-การตลาดและพัฒนาธุรกิจ และคุณภคมน ตุลยาพิศิษฐ์ชัย ผู้อำนวยการอาวุโส-ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ที่มาร่วมเป็นกรรมการเพื่อให้คำแนะนำและคำตัดสิน และเสริมคมความคิดให้กับแต่ละทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบ Final Pitching

 

เส้นทางสร้าง Innovator

หลังจากเปิดรับสมัครชาวเงินติดล้อเพื่อร่วมแข่งขัน ‘TIDLOR Hackathon’ ซึ่งมีผู้สมัครถึง 149 คน เงินติดล้อก็จัดกิจกรรม Open House และ Team Matching Day เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมาเจอกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงตามหาคนเคมีตรงกัน จนได้ทีมที่ลงตัวและเต็มไปด้วยคนที่มี Passion และเป้าหมายเดียวกันถึง 30 ทีม

คุณธนากร จันทรังษี ฝ่ายนายหน้าประกันภัย สมาชิกในทีม LeadWise เล่าถึงการรวมทีมที่เกิดขึ้นว่า

“เรามีหลักในการรวมทีมง่ายๆ คือ อย่างแรกต้องเป็นคนที่มี Pain ในเรื่องคล้ายกัน สองคือเป็นคนที่มาจากหลากหลายส่วนงาน เพื่อจะได้เติมเต็มและแลกเปลี่ยนความรู้กันในทีม และสามคือควรมีสมาชิกสักคนจากทีม IT มาช่วยเชื่อม Gap ระหว่างฝั่ง IT และฝั่ง Business จนเราได้สมาชิกในทีมมาช่วยตบไอเดียให้ไม่ฟุ้งและทำได้จริง และช่วยให้เรายึดเป้าหมายเดียวกันอยู่ตลอด”

และคุณยุทธศิลป์ หลิ่วปัญจรัตน์ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สมาชิกทีม AVA เล่าว่า

“เรารู้จักกันมาบ้างจากการเคยทำ Project ร่วมกัน และคิดว่าถ้าเราเป็นทีมที่มีความหลากหลาย คือมีทั้ง Marketing, IT, Finance และ Risk ก็จะช่วยให้เห็นปัญหาได้หลากหลายมุมมอง”

จากนั้นก็มีกิจกรรม Pre-Hackathon Workshop ให้แต่ละทีมได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับสิ่งที่เป็น Insight จริงของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เพื่อนำไปครีเอทแนวทางแก้ปัญหาให้กลุ่มเป้าหมาย พร้อมเรียนรู้กระบวนการ ‘ตรวจสอบความคิด’ ด้วยการสร้าง Prototype ต้นแบบ เพื่อพิสูจน์ว่าไอเดียเหล่านี้มี Demand หรือเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่ เพื่อเทสต์ว่าโปรเจ็กต์นั้นๆ สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้จริงกับ คุณสวยศ ด่านบรรพต ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรแนะนำเรื่องการวางแผนและจุดไอเดียธุรกิจ พร้อมเทคนิค Pitching อย่างไรให้โดนใจให้กับเหล่า Hackers

หลังจากการ Pitching ในรอบแรก คณะกรรมการต้องคัด 15 ทีมที่จะเข้าสู่รอบ Final และเฟ้นหาเพียง 3 ทีมที่จะได้รับรางวัล ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายคณะกรรมการทุกคนถึงกับบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่ายาก เพราะทุกทีมล้วนนำเสนอไอเดียที่ตอบโจทย์จากความเข้าใจใน Pain Point ที่เป็นปัญหาของลูกค้า หรือปัญหาของคนในองค์กรได้จริง และยังเป็นไอเดียที่มีโอกาสต่อยอดทางธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางองค์กรของเงินติดล้ออีกด้วย

 

เปิดไอเดีย Smart Execution

แต่ในที่สุด TIDLOR Hackathon ก็ได้ทีมผู้ชนะคือ ‘ทีม LeadWise’ จากไอเดียพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหา Manual Process และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มุ่งสร้างรายได้ให้เงินติดล้อ ผ่านการสร้าง Lead and Data Management Platform ที่จะมาช่วยจัดการ Lead และ Data ต่างๆ ภายในของเงินติดล้อ

ส่วนทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ก็น่าประทับใจไม่แพ้กันคือ ‘ทีม AVA’ จากไอเดียการพัฒนาฟีเจอร์บนแอปเงินติดล้อ ให้ลูกค้าเข้าถึงการขอสินเชื่อที่รวดเร็ว สะดวกและทราบผลภายใน 5 นาที พร้อมทั้งช่วยเพิ่มฐานลูกค้าและกำไรให้กับเงินติดล้อ

และทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ‘ทีม INS-SEE’ จากไอเดียพัฒนาแอปพลิเคชันที่นำ AI เข้ามาช่วยในขั้นตอนการประเมินรูปถ่ายรถทั้ง 4 มุม ซึ่งนอกจากจะทำให้ลดชั่วโมงและจำนวนคนทำงานในขั้นตอนการอนุมัติกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ยังส่งผลให้ประสบการณ์ลูกค้าดีขึ้น เพราะจะทำให้ลูกค้าทราบผลอนุมัติไวและไม่ต้องรอนานอีกต่อไป โดยทั้ง 3 ทีมมีคะแนนที่สูสีกัน และถึงแม้อีก 27 ทีมจะไม่ได้รางวัล แต่ไอเดียพัฒนานวัตกรรมที่มาจาก Passion และความเข้าใจใน Pain Point ของลูกค้าก็เปล่งประกาย จนได้ใจคณะกรรมการทั้งหมดไปเช่นกัน

เช่น ไอเดียพัฒนาระบบ เพื่อให้คืนเงินส่วนเกินให้ลูกค้าได้ไวขึ้น พร้อมแนวทางการต่อยอดธุรกิจให้ลูกค้าสามารถใช้เงินส่วนเกินมาซื้อผลิตภัณฑ์ของเงินติดล้อได้โดยไม่ต้องใช้เงินสดของ ‘ทีม BEYOND’

ไอเดียพัฒนาฟีเจอร์พี่เลี้ยงทางการเงินบน NTL App ของ ‘ทีม SMART FUN FIN’ เพื่อให้ความรู้ทางการเงิน และแนะนำการใช้จ่ายเงินกับลูกค้า ซึ่งนอกจากช่วยตอกย้ำความมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ยังช่วยลดหนี้เสียให้องค์กร และต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ให้เงินติดล้อได้ ขณะที่ ‘ทีม Charlie’ เสนอการใช้ Notification บน NTL App เป็นช่องทางช่วยสร้างวินัยในการออมให้ลูกค้าเงินติดล้อและให้รางวัลเมื่อลูกค้าทำตามเป้าหมายได้

นอกจากนี้ยังมีไอเดียในการพัฒนาแพลตฟอร์มเปรียบเทียบแพ็คเกจสุขภาพของโรงพยาบาลต่างๆ ของ ‘ทีมตำแหน่งอยู่ไม่นาน ตำนานอยู่ตลอดไป’ ไอเดียพัฒนาแอปของ ‘ทีมแมวขโมย’ เพื่อแจ้งงานซ่อมต่างๆ ทั้งงานซ่อมสาขา งานซ่อมรถใช้งานของบริษัท เพื่อลดกระบวนการหลังบ้าน ทำให้การอนุมัติงานซ่อมเร็วขึ้น และยังช่วยเก็บข้อมูลของช่างคุณภาพในทำเลต่างๆ ไว้ได้

รวมถึงยังมีไอเดียต่างๆ อีกมากมายที่ล้วนแสดงศักยภาพของ TIDLOR Hackers! หลังจบการแข่งขัน คณะกรรมการจึงสนับสนุนให้ทุกทีมพัฒนาไอเดียที่มีอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติมไฟ และพลังความคิดที่แต่ละทีมมีไม่ให้มอดดับลง อย่างที่คุณสมโภชน์ หนึ่งในกรรมการตัดสิน TIDLOR Hackathon ย้ำว่า “อย่าหยุดฝัน และขอให้จำไฟที่มีในวันนี้ สิ่งที่พูดในวันนี้ เพื่อถ่ายทอดต่อกับทีมของเรา และถ่ายทอดต่อไปยังน้องๆ ในรุ่นถัดๆ ไป เพราะการมี Passion และกระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา คือกุญแจสำคัญของการเป็น ‘องค์กรแฮกกาธอน’ และเป็นกุญแจสำคัญในการสร้าง ‘นวัตกรรม’ ขององค์กร”

 

สิ่งที่ล้ำค่ากว่ารางวัล

แม้จะมีเพียงทีมผู้ชนะเพียงทีมเดียวที่ได้รับรางวัลเป็น Tech Trip ไปดูงานที่ต่างประเทศ แต่สิ่งที่ทุกทีมต่างได้รับนั้นล้ำค่ายิ่งกว่ารางวัล ทั้งประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้ที่มาจาการลงมือทำจริง และยังมีโอกาสได้เปิดรับมุมมองใหม่ๆ จากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงยังได้รับมิตรภาพดีๆ ทั้งจากเพื่อนร่วมทีมและเพื่อนต่างทีมบนเส้นทางการแข่งขัน

และนี่เป็นเสียงสะท้อนจากเหล่า Hacker ที่เข้าร่วมเส้นทางการเรียนรู้ครั้งนี้ว่า

“ประสบการณ์ที่มีค่า คือการได้เรียนรู้การจิตนาการแบบที่ไม่มีอะไรปิดกั้นไปกับเพื่อนร่วมทีม ได้ฟังไอเดียใหม่ๆ และได้ไฟเพื่อกลับไปทำงานต่อ” - คุณวัลยา ลาขุมเหล็ก ฝ่ายอำนวยสินเชื่อ ทีม AVA

“ได้รู้จักการลำดับความคิดภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้เรียนรู้การเชื่อใจ และ Respect กันของคนในทีม” - คุณนวลจันทร์ บุญรักชาติ ฝ่ายนายหน้าประกันภัย ทีม INS-SEE

“ประทับใจประสบการณ์ในการทำงานจริง ตั้งแต่กระบวนการเลือก Concept และ Solution ที่จะนำเสนอในการพิชชิ่งงาน เพราะ Scope of Work ของทีมเราค่อนข้างกว้าง ทำให้มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะและอาจทำให้นำเสนอได้ไม่ทันตามเวลา แต่ก็ผ่านมาได้ เพราะ Mentor ที่ช่วยแนะนำและให้คำปรึกษา ซึ่งทำให้เราไปได้ตรงจุดมากที่สุด” - คุณวรพล ทิพย์มณีมงคล ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ ทีม LeadWise

ขณะที่คุณเบอร์นาร์ด โช ผู้บริหารระดับสูงของเงินติดล้อที่เป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการได้บอกว่า

“ก่อนเริ่มงานผมตั้งใจมาแชร์ประสบการณ์และสอนทุกคน แต่หลังจบงานกลับพบว่ามีหลายอย่างที่ผมได้เรียนรู้ เพราะการ Hackathon ของเหล่า Hackers ที่อยู่หน้างานช่วยเปิดมุมมองให้ผมเห็นหลายอย่างที่ผู้บริหารอาจมองข้ามไป หรือมองไม่เห็น ขอบคุณทุกคนที่ช่วยให้เราได้เรียนรู้ ยังไงก็อยากให้ทุกทีมพัฒนาไอเดียของตัวเองต่อ เพราะ Innovation ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่สิ่งที่จำเป็นคือ เราจำเป็นต้องไม่หยุดการเรียนรู้ จำเป็นต้องทดลองสิ่งใหม่ๆ และจำเป็นต้องทำสิ่งที่เรามีให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่าทุกคนที่เข้าร่วม Hackathon มี Mindset นี้กันอยู่แล้ว แต่แค่นี้อาจจะยังไม่พอ เราจำเป็นต้องถ่ายทอด Mindset นี้ต่อไปด้วย และถ้าชาวเงินติดล้อเกือบ 7,000 คน มีคิดเหมือนกันแบบนี้ เราก็จะเป็น Innovative Company ที่ไม่วันหยุดพัฒนา เพราะแม้ว่า TIDLOR Hackathon ครั้งนี้จะจบลงแล้ว แต่เรายังมี Mission ที่จะอยู่กับเราไปทั้งชีวิต”
 

ถึงตรงนี้ อาจช่วยให้หลายคนปลดล็อกความสงสัยเมื่อได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งขับเคลื่อนให้เงินติดล้อเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดที่ว่า ‘การบ่มเพาะคน คือการบ่มเพาะองค์กรให้เติบโต’

เงินติดล้อ

ติดล้อสตอรี่โดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น