ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ตั้งแต่ปี 2566 เนื่องจากเป็นผลกระทบจากโควิด-19 ร่วมกับปัญหาสงครามด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกผันผวน และธุรกิจต่างต้องเผชิญความท้าทายกับการเปลี่ยนแปลงที่คาดเดาไม่ได้ บางรายอาจชะงัก หรือเลวร้ายสุดคือล้มหายตายจากไป
ในสถานการณ์นี้ ‘เงินติดล้อ’ จะพิสูจน์ว่าการ ‘คิดสุดต่าง ทำสุดโต่ง’ เป็นแนวคิดและหลักการที่สามารถพาองค์กรให้รอดและเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไปได้
และบทความนี้จะพาไปไขกลยุทธ์
‘คิดสุดต่าง ทำสุดโต่ง’ หรือ
‘Business Unusual’ ที่เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวผ่านวิกฤต และเป็นธีมของการประชุมผู้นำเงินติดล้อ หรือ NTL OPENBOX 2024 ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เหล่าผู้บริหารยกทัพมาเพื่อแชร์วิสัยทัศน์และเป้าหมายของบริษัท เพื่อเป็นกำลังใจ ปลุกไฟ และให้ทุกคนเห็นภาพให้ตรงกัน เพื่อจะพาองค์กรให้รอดและเติบโตในระยะยาว
‘ความเชื่อ’ คือพลังที่อยู่ในเข็มทิศนำทาง
คุณหนุ่ม ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึง ‘ความเชื่อ’ ที่ส่งผลต่อวิธีการดำเนินธุรกิจของเงินติดล้อไว้ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 ว่า
“ความเชื่อของชาวเงินติดล้อในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เกิดจากแรงผลักดันของความตั้งใจจริงในการช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคาร ซึ่งนำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหนือกว่าและนำไปสู่ผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
องค์กรของเรายึดมั่นในพันธกิจนี้ ไม่ใช่เพราะมันสร้างหัวข้อข่าวหรือช่วยสร้างแบรนด์ที่ดี แต่เป็นเพราะมันเกิดประโยชน์ต่อสังคม สร้างความแข็งแกร่งและความยั่งยืนให้ธุรกิจของเรา และสะท้อนถึงสิ่งที่ชาวเงินติดล้อให้คุณค่าอย่างลึกซึ้ง”
‘ความเชื่อ’ ที่ว่านี้ไม่ได้เป็นเพียงคำพูด แต่เป็น ‘เข็มทิศ’ ที่นำทางเงินติดล้อผ่านการเลือกคนที่มีความเชื่อและค่านิยมเดียวกันมาทำงานในองค์กรมาตั้งแต่ต้น
และเมื่อความรู้สึกและสำนึกของคนธรรมดาๆ ที่มีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจในข้อจำกัดของลูกค้ามารวมตัวกันก็ทำให้เกิดพลังผลักดันที่ยิ่งใหญ่ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมและตอบโจทย์ให้ลูกค้าได้เข้าถึงบริการทางการเงินที่เป็นธรรม โปร่งใส อย่างทั่วถึง โดยมีปลายทางคือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของลูกค้า
นอกจากนี้ เงินติดล้อยังให้ความสำคัญกับการ ‘ลงทุนในคน’ และ ‘ลงทุนในเทคโนโลยี’ เพราะเชื่อว่าทั้งสองสิ่งนี้คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มทักษะของการ ‘คิดสุดต่าง ทำสุดโต่ง’ ให้กับองค์กร และช่วยทำให้เป้าหมายของเงินติดล้อเป็นจริง
บทพิสูจน์ของทักษะ ‘คิดสุดต่าง ทำสุดโต่ง’ ใน ‘ธุรกิจสินเชื่อ’
สำหรับธุรกิจสินเชื่อซึ่งเป็นธุรกิจแรกเริ่มของเงินติดล้อ ทักษะ ‘คิดสุดต่าง ทำสุดโต่ง’ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนในคน และการลงทุนในเทคโนโลยี ได้สร้างความต่างและทำให้เงินติดล้อก้าวห่างจากคู่แข่งมากขึ้น จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการฉุกเฉินของผู้ที่ต้องการเงินกู้อย่างรวดเร็ว พร้อมให้ความสบายใจแก่ลูกค้า ในขั้นตอนการทำงานและเอกสารที่โปร่งใส โดยยังคงมีกำไรและไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เช่น
บัตรติดล้อ: ถอนเงินได้ทันทียามฉุกเฉิน
ปี 2566 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยที่ไม่คาดคิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ แต่เงินติดล้อก็ยังคงมียอดสินเชื่อ จำนวนลูกค้าสินเชื่อที่เติบโต และเป็นแบรนด์สินเชื่ออันดับ 1 ที่ลูกค้าไว้ใจในอุตสาหกรรมตลอด 6 ปีซ้อน โดย ‘บัตรติดล้อ’ คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ ที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจลูกค้า อยากช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ตลอดเวลาที่ลูกค้าเดือดร้อน ทำให้ปัจจุบันมีลูกค้าเงินติดล้อ ถือบัตรติดล้อ ถึง 6.44 แสนใบ ณ 31 ธันวาคม 2566
โอนเงินสินเชื่อ: เทคโนโลยีเพื่อการโอนเงินสินเชื่อที่สะดวก
เจตนาต้องการให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกสบายขึ้น ยังส่งผลให้เงินติดล้อก้าวนำคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอในการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่นการโอนเงินสินเชื่อเข้าบัญชีผ่านแอปเงินติดล้อ ทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้นอีกขั้น เพราะไม่ต้องเดินทางไปหาสาขาหรือตู้เอทีเอ็ม ส่งผลให้ 6 เดือนหลังจากเปิดตัวฟีเจอร์นี้ ผลลัพธ์ทางธุรกิจของปี 2023 เติบโตอย่างก้าวกระโดดไปมาก
- มีลูกค้าถอนเงินผ่านระบบโอนเงินสินเชื่อแล้ว 1.7 ล้านครั้ง
- คิดเป็นจำนวนเงินสินเชื่อ 3.4 พันล้านบาท
- 63% เป็นการโอนเงิน โดยไม่ผ่านตู้เอทีเอ็ม
ปรับกลยุทธ์การเติบโตของสาขา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการบริการ
ขณะที่ผู้เล่นในตลาดต่างพากันเดินหน้าเปิดสาขาใหม่ เงินติดล้อกลับ ‘คิดต่าง’ ด้วยการปรับกลยุทธ์การเปิดสาขา เพื่อปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น และนี่คือผลลัพธ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพและยกระดับการบริการของเงินติดล้อ
- ปรับเวลาทำการของบางสาขาที่มีศักยภาพมาเป็นการให้บริการ 7 วันต่อสัปดาห์ พร้อมขยายเวลาทำการให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนไป
- ผ่อนปรนนโยบายการเงิน เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
- พัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถเป็นได้ทั้ง “ที่ปรึกษาทางการเงินและที่ปรึกษาในการซื้อประกัน” รวมถึง “เป็นผู้รักษาผลประโยชน์ให้กับลูกค้า” ได้ในเวลาเดียวกัน
‘คิดสุดต่าง ทำสุดโต่ง’ ผลลัพธ์ที่งดงาม
ประกันติดโล่
ธุรกิจของเงินติดล้อไม่ได้หยุดอยู่แค่ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเท่านั้น เงินติดล้อเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมี ‘ประกัน’ เป็นเครื่องมือช่วยเหลือและสร้างหลักประกันให้กับลูกค้า เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดประกันติดโล่ ธุรกิจนายหน้าประกันภัยที่เกิดจากความตั้งใจมุ่งมั่นช่วยเหลือให้ชีวิตของลูกค้าไม่สะดุด
- ประกันติดโล่ เป็นผู้นำในการผ่อนประกันเงินสด 0% เจ้าแรก เพื่อให้ลูกค้ามีโอกาสได้เข้าถึงประกันได้มากขึ้น
- สร้างมาตรฐานใหม่ของโบรกเกอร์ประกันภัยด้วยการเป็น ‘เซอร์วิส โบรกเกอร์’ มุ่งมั่นมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าตั้งแต่ขายถึงเคลม เพื่อสร้างความสบายใจ และปกป้องสิทธิที่ลูกค้าพึงจะได้รับ
- บริการ Call Center 1501 คอยดูแลและช่วยลูกค้าในทุกๆเรื่องเกี่ยวกับประกัน ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน
และด้วยความตั้งใจดีเหล่านี้จึงทำให้ ‘ประกันติดโล่’ กลายเป็นโบรกเกอร์ประกันอันดับ 1 ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านประกันภัยอย่างใกล้ชิด (Face to Face Marketing) จากนายหน้าประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตกว่า 5,000 คนทั่วประเทศ และยอดเบี้ยประกันวินาศภัยเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 8.3% ในขณะที่ตลาดประกันวินาศภัยเติบโตแค่ 3-4% เท่านั้น
อารีเกเตอร์
ขณะเดียวกัน แพลตฟอร์ม ‘อารีเกเตอร์’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เกิดจากความตั้งใจที่จะช่วยให้นายหน้าประกันภัยรายย่อยมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับเงินติดล้อ โดยร่วมมือกันขยายการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้กับคนในสังคมไทย โดยสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยจากบริษัทประกันชั้นนำกว่า 15 บริษัทได้ ด้วยการบริหารงานในคอนเซ็ปต์ จริงใจ เข้าใจ เติบโตไปพร้อมกัน ยังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งในด้านของจำนวนสมาชิก และจำนวนรายได้ที่เพิ่มขึ้น คือ
- สมาชิกโตขึ้น 8 เท่าใน 4 ปี จาก 1,430 คน ในปี 2020 เป็น 8,000 คนในปี 2023
- กรมธรรม์ เติบโตขึ้นมากกว่า 30 เท่าจากปีแรก
ส่วนน้องใหม่อย่าง heygoody โบรกเกอร์ประกันออนไลน์ยุคใหม่ ที่ตอบโจทย์ในการซื้อประกันโดยไม่ต้องผ่านคน ไม่มี telesales กวนใจ ทำรายการได้เอง ครบ จบใน 5 นาที เพื่อตอบสนองความต้องการของคนสายพันธุ์ Introvert ที่ไม่ชอบถูกรบกวนและมีจำนวนมากถึง 48% ของคนไทย ก็สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่น โดย heygoody คือแพลตฟอร์มที่ใช้เวลาในการสร้างเพียง 10 เดือน ใช้เงินลงทุนเพียง 20 ล้านบาท ด้วยทีมงานเพียงไม่กี่คน ขณะที่ผู้เล่นรายอื่นๆ อาจจะต้องใช้เวลาถึง 2 ปี และต้องใช้เงินลงทุนถึง 80 ล้านบาท เพื่อสร้างแพลตฟอร์มในลักษณะเดียวกัน!
และทั้งหมดนี้ก็คือคำตอบว่าทำไม ‘เงินติดล้อ’ ยังสามารถยืนระยะและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความยากลำบากในการคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ชาวเงินติดล้อทุกคนมีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมองค์กร ลูกค้า และพันธมิตร จะสามารถฝ่าฟันและเติบโตต่อไปบนเส้นทางของความยั่งยืนได้ ตราบเท่าที่ชาวเงินติดล้อยังคงยึดมั่นในพลังที่ยิ่งใหญ่ของเป้าหมายที่ทำเพื่อลูกค้าและสังคม รวมไปถึงพลังของการคิดสุดต่าง และลงมือทำอย่างสุดโต่ง