หน้าแรก ติดล้อสตอรี่ เสื้อค่านิยม “CORE เดียวกัน Collection” สะท้อนเส้นทางสู่วัฒนธรรมองค์กรสุดสตรองของ “เงินติดล้อ

เสื้อค่านิยม “CORE เดียวกัน Collection” สะท้อนเส้นทางสู่วัฒนธรรมองค์กรสุดสตรองของ “เงินติดล้อ

15 สิงหาคม 2567
เสื้อค่านิยม “CORE เดียวกัน Collection” สะท้อนเส้นทางสู่วัฒนธรรมองค์กรสุดสตรองของ “เงินติดล้อ

เมื่อค่านิยมองค์กรของ ‘เงินติดล้อ’ ไม่เคยอยู่แค่บนกำแพง แต่อยู่ในชีวิตประจำวันของชาวเงินติดล้อทุกคนรวมถึงบนดีไซน์ของเสื้อ ‘Core เดียวกัน Collection’ ที่เป็นการจับมือกันครั้งแรกระหว่างเงินติดล้อ X อัคระแบงค็อก แบรนด์ดีไซน์เนอร์คนไทย


การร่วมงานครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นจากเรื่องราวการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของเงินติดล้อ ที่เปลี่ยนคำว่า ‘วัฒนธรรม’ และ ‘ค่านิยมองค์กร’ ให้กลายเป็นเรื่องสนุก มีชีวิตชีวา ต่อเติมกำลังใจ จุดประกายไฟในการทำงาน และยังปลดล็อกวิธีสื่อสาร ‘ค่านิยมองค์กร’ ให้กระจายไปอยู่ได้ทุกที่ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้คน ‘Core เดียวกัน’ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนก็หยิบยกค่านิยมที่โดนใจไปเติมพลังบวกให้ตัวเองและคนรอบข้างได้
 

เงินติดล้อ: องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม ที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ไม่ว่าใครจะนิยาม ‘เงินติดล้อ’ ว่าเป็นองค์กรอย่างไร แต่เงินติดล้อเลือกที่จะนิยามตัวเองว่าเป็น Culture-Driven Company หรือ องค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นหัวใจขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ และมี ‘ค่านิยมองค์กร’ หรือที่ชาวเงินติดล้อเรียกกันว่า 7 ล้อ Core Values เป็นเข็มทิศนำทางในการทำงาน ให้พนักงานได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง และเดินไปสู่จุดหมายเดียวกัน


เงินติดล้อจึงให้ความสำคัญกับการให้พนักงานร่วมกันคิด ช่วยกันเขียนค่านิยมองค์กร ที่มาจากการถอดรหัสตัวตนของคนทำงานที่ชาวเงินติดล้อยกย่อง ผสานกับความคิด ความเชื่อที่เป็นแนวทางในการทำงานที่ชาวเงินติดล้อชื่นชม โดยใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง จนออกมาเป็นค่านิยมองค์กรเวอร์ชั่นแรกที่มีการประกาศใช้เมื่อ 7 ปีก่อน


7 ล้อ Core Values ของเงินติดล้อจึงเป็นค่านิยมที่มีลักษณะเฉพาะ สะท้อนภาพความกระหายใคร่รู้ ความสนุกสนานเฮฮา จริงใจ เป็นกันเองสไตล์เงินติดล้อออกมาได้อย่างชัดเจน


และเมื่อเป็นค่านิยมที่มาจาก ‘ตัวตนจริง’ ของชาวเงินติดล้ออยู่แล้ว จึงมีแต่คำว่า “ใช่” สำหรับชาวเงินติดล้อจะนำค่านิยมทั้ง 7 ข้อมาประพฤติ ปฏิบัติ ทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิต รวมถึงยังถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการคัดสรรคนมาทำงาน และสื่อสารถึงพฤติกรรมที่องค์กรอยากเห็นพนักงานนำไปใช้
 

ความสนุกของการสร้างค่านิยมองค์กรที่ไม่มี ‘ตอนจบ’

ถึงแม้ชาวเงินติดล้อจะมีค่านิยมที่สะท้อนตัวตน และเป็นค่านิยมที่สร้างภาคภูมิใจให้กับพนักงานแล้ว แต่เรื่องราวการสร้างวัฒนธรรมผ่านค่านิยมองค์กรของเงินติดล้อก็ยังไม่จบ


เพราะเงินติดล้อเชื่อว่า วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กรไม่ควรอยู่แค่ในกระดาษ หรือแปะไว้บนผนังหรือกำแพงเท่านั้น แต่ควรเป็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจของพนักงาน เพื่อให้ทุกความคิดและทุกการกระทำ เป็นการคิดและทำบนพื้นฐานที่มีค่านิยมเป็นแรงผลักดัน

เงินติดล้อจึงไม่เคยลืมที่จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองกันในวันพิเศษ ที่แตกต่างไปจากองค์กรอื่นๆ นั่นคือวัน ‘Culture Day’ หรือวันของชาวเงินติดล้อ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี โดยผู้บริหารและพนักงานทุกคนจะมารวมตัวกันเพื่อร่วมกันตอกย้ำถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมทั้ง 7 ข้อ เฉลิมฉลองและชื่นชนคนต้นแบบที่แสดงออกถึงค่านิยม และมาร่วมภูมิใจในความเป็นชาวเงินติดล้อพร้อมกันทั่วประเทศ


นอกจากนั้นเงินติดล้อจึงมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้พนักงานมีโอกาสเรียนรู้การนำ 7 ล้อ Core Values มาใช้ผ่านการลงมือทำ ไม่ใช่แค่การท่องจำ อย่างเช่นการจัดเวิร์กชอป การสนับสนุนให้พนักงานได้ทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบ Cross Functional  หรือแม้แต่การจัดกิจกรรมอย่าง TIDLOR Run 10 ยกกำลัง 7 เพื่อให้ทุกคนในทีมได้ไปถึงเป้าหมายร่วมกัน เป็นต้น


อย่างที่คุณตี้ กาญจน์ณัฐ เฉลิมจุฬามณี ผู้อำนวยการอาวุโส Tidlor Academy บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงค่านิยมองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จของโปรเจกต์ต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ที่ผ่านมาของเงินติดล้อว่า

“ความสำเร็จของเงินติดล้อไม่ได้มาจากค่านิยมเพียงข้อใดข้อหนึ่ง แต่เป็นทั้ง 7 ข้อ ที่รวมกันเป็นหัวใจ 7 ดวง”


ก่อนจะเป็น 7 ข้อความบนลายเสื้อที่โดนใจ

หนึ่งในวิธีการสื่อสารค่านิยมองค์กรในรูปแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ ไม่จำเจ เข้าใจง่าย สามารถเตือนใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิตประจำวัน ตามค่านิยมที่มีอยู่ในใจได้ พร้อมกับเรียกรอยยิ้ม หรือเสียงหัวเราะตามสไตล์เงินติดล้อ เกิดขึ้นเมื่อได้เจอกับดีไซน์เนอร์ไทยสุดสร้างสรรค์อย่าง ‘อัคระแบงค็อก’ แบรนด์ที่มีเอกลักษณ์ในการดีไซน์ลวดลายลงบนเสื้อผ้า หรือของใช้ในชีวิตประจำวันด้วยข้อความที่ให้พลังบวกที่มีอารมณ์ขันแทรกอยู่

“พอเจอกับ ‘อัคระแบงค็อก’ เราก็ปิ๊งเลยว่าแบรนด์นี่แหละคือคำตอบที่จะมาช่วยย่อยค่านิยมของเราให้สามารถอยู่ในทุกๆ วันของพนักงานได้”

คุณตี้ กาญจน์ณัฐ เฉลิมจุฬามณี ผู้อำนวยการอาวุโส Tidlor Academy บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)


ขณะคุณปอม อัครพล ปานกุล เจ้าของแบรนด์อัคระแบงค็อก ก็ได้พูดถึงค่านิยมองค์กรของเงินติดล้อ ก่อนที่อัคระแบงค็อกจะนำมาย่อยและดีไซน์ข้อความให้คมขึ้น และเหยาะอารมณ์ขันเพิ่มขึ้นไปอีกว่า

“ค่านิยมองค์กรทั้ง 7 ข้อของเงินติดล้อเป็นค่านิยมที่ให้พลังบวกอยู่แล้ว เราแค่มาทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ติดปากคนมากขึ้น และเพิ่มดีไซน์ผ่านลวดลายต่างๆ บนเสื้อยืดลงไป เพื่อให้คนที่เห็นรู้สึกสนุก และสามารถนำไปใส่ได้ทุกวัน”


โปรเจกต์เสื้อยืดค่านิยมCore เดียวกัน Collection” ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อพนักงานเงินติดล้อเท่านั้น แต่ยังขยายโอกาสให้กว้างออกไปเพื่อเติม ‘พลังบวก’ เติมความสุขในชีวิตการทำงานให้กับออฟฟิศอีกด้วย

“เพราะเงินติดล้อเชื่อว่าคนทุกคนล้วนมี Personal Value  หรือค่านิยมที่เป็นความเชื่อส่วนตัวอยู่แล้ว และการได้เห็นความเชื่อ หรือข้อความตามสไตล์คน Core เดียวกัน มาช่วยกระตุก เตือนใจตัวเองได้แบบขำๆ เท่ๆ อยู่บนเสื้อยืดที่ตัวเองหรือคนอื่นสวมใส่จะช่วยให้คนทำงานได้ผ่อนคลายและมีพลังบวกที่จะสร้างสรรค์สิ่งดีดีได้ต่อไป หากคอลเลกชันนี้ช่วยให้คนได้รับพลังบวก และต่อยอดเป็นแรงบันดาลใจในชีวิตได้ แค่นี้เราก็รู้สึกดีใจมากแล้ว”

คุณตี้ กาญจน์ณัฐ เฉลิมจุฬามณี ผู้อำนวยการอาวุโส Tidlor Academy บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)


ถึงตรงนี้ก็ขอบอกเลยว่า สำหรับชาวเงินติดล้อหรือคนที่สนใจอยากจะเติมพลังใจให้ตัวเองหรือคนอื่น ผ่านข้อความผ่านเสื้อยืด ‘Core เดียวกัน Collection’ สามารถตามไปต่อแถวเป็นเจ้าของกันได้ที่ LINE SHOPPING: http://shop.line.me/@tidlorshop และถ้าใครสนใจอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับเส้นทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่จับต้องได้ในแบบฉบับของเงินติดล้อ ก็สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tidlor.com/academy

เงินติดล้อ

ติดล้อสตอรี่โดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น