เงินฉุกเฉินสำคัญอย่างไร ต้องเก็บเท่าไหร่ถึงจะพอ

เงินฉุกเฉินสำคัญอย่างไร ต้องเก็บเท่าไหร่ถึงจะพอ
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

รายจ่ายอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนควรเตรียมให้พร้อมนั่นคือ เงินสำรองในยามฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดเอาไว้ก่อนว่าจะต้องจ่าย พูดง่ายๆ นั่นคือ เมื่อคุณพบกับโชคไม่ดีเข้าและจะต้องมีเหตุให้เสียเงินก้อน ตรงนี้เองเงินฉุกเฉินที่เก็บเอาไว้จะสามารถช่วยคุณได้

แต่เมื่อถึงคราวจำเป็นต้องเอาเงินก้อนมาจ่าย หลายคนก็มักจะพบปัญหาที่ไม่เคยวางแผนเก็บเงินสำรองเอาไว้มาก่อน ทำให้ไม่มีเงินนำมาจ่ายในยามฉุกเฉินได้ ในบทความนี้มาดูกันว่าเงินฉุกเฉินนั้นสำคัญแค่ไหน และต้องเก็บแค่ไหนถึงจะพอนำมาใช้

เงินฉุกเฉินควรเอามาใช้ตอนไหน

สำหรับเงินฉุกเฉินต้องเป็นเงินที่หยิบออกมาใช้ได้ทันที เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมาก่อน ซึ่งโดยปกติแล้วถ้าเป็นเงินจำนวนไม่มากหลายคนก็ยังสามารถนำเงินส่วนตัวออกมาใช้จ่ายก่อนได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียต้องซื้อใหม่มาทดแทน

แต่ถ้าต้องจ่ายเป็นเงินก้อนทีเดียวนั้น ก็อาจเป็นเรื่องยากที่ต้องหามาจ่ายทันที ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทีเดียวจำนวนมากนั้นได้แก่

ประสบอุบัติเหตุ

หนึ่งในค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนนั่นคือ ค่ารักษาเมื่อประสบอุบัติเหตุ ที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และถ้ามีอาการหนักก็จะมีค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลบวกเข้าไปด้วย ซึ่งถ้าไม่อยากนำเงินก้อนมาจ่ายค่ารักษายังมีวิธีที่จะสามารถนำเงินมาจ่ายได้คือ การทำประกันอุบัติเหตุเอาไว้ แล้วทางบริษัทประกันจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้

ประสบอุบัติเหตุ

สำหรับคนที่มีรถแล้วขับไปประสบอุบัติเหตุ นอกจากเจ็บตัวต้องรักษาแล้วยังมีค่าซ่อมรถที่ต้องจ่ายด้วย โดยถ้าใครที่ไม่อยากรับภาระค่าใช้จ่ายอุบัติเหตุที่จะยืดยาวไม่จบสิ้นขอแนะนำให้คุณทำประกันภาคสมัครใจให้กับรถของคุณจะดีที่สุด

ตรวจพบโรคร้ายแรงที่ต้องรีบรักษา

อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่จะไม่ได้อยู่ในแผนการใช้ชีวิตของใครเลยนั่นคือ การตรวจพบโรคร้ายแรงที่ต้องเข้ารักษาตัวอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะมีค่ารักษาระยะยาวที่ต้องจ่าย แต่ถ้าใครที่คิดว่ายังไม่สามารถเก็บออมเงินได้ในจำนวนมากขนาดนั้น การทำประกันชีวิตที่ครอบคลุมการรักษาโรคร้ายแรงจะช่วยให้คุณไม่ต้องรับภาระค่ารักษาเอง

ขาดรายได้กระทันหัน

เงินฉุกเฉินสามารถช่วยให้คุณสามารถใช้จ่ายต่อได้ในสภาวะที่มีการว่างงานเกิดขึ้น เช่น คุณเคยทำอาชีพที่มีรายได้คงที่ อยู่มาวันหนึ่งคุณกลับถูกจ้างให้ออกจากงานกระทันหัน หรือมีอาชีพที่เป็นธุรกิจส่วนตัว แล้วอยู่มาวันหนึ่งตลาดที่คุณทำอยู่หยุดชะงักลง ทำธุรกิจต่อไปไม่ได้

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่เห็นกันอยู่ตอนนี้คือภาวะว่างงาน บวกกับเศรษฐกิจที่กำลังระส่ำระส่ายจากโควิด-19 ทำให้หลายคนในตอนนี้มีภาวะการเงินที่ขาดสภาพคล่อง รายได้ขาดมือจนไม่พอใช้จ่าย ตรงนี้เองจะเห็นได้ว่าเงินฉุกเฉินสามารถนำมาจุนเจือและหมุนเวียนชั่วคราวก่อนได้ในภาวะนี้

เก็บเงินฉุกเฉินไว้ที่ไหนดี

ก่อนจะแยกเงินเก็บฉุกเฉินต้องแยกก่อนว่าเงินเก็บนี้ไม่ใช่เงินสำหรับลงทุน เพราะเมื่อต้องหยิบออกมาใช้เงินนี้จะต้องอยู่ในภาวะที่พร้อมนำออกมาใช้ ซึ่งถ้านำเงินก้อนนี้ไปลงทุนอย่างหุ้น หรือกองทุนความเสี่ยงสูงอาจจะทำให้เงินก้อนนี้ได้คืนกลับมาไม่ครบในช่วงที่จำเป็นต้องใช้

แต่คำถามคือจะเก็บไว้ที่ไหนดีเงินก้อนนี้ถึงจะปลอดภัย และไม่ถูกนำออกมาใช้จ่ายเมื่อไม่จำเป็นจริงๆ โดยมีข้อแนะนำในการเก็บอยู่ 2 ที่คือ

เปิดบัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง

หลายธนาคารมีบริการให้คุณสามารถเปิดบัญชีเงินฝากที่ได้ดอกเบี้ยสูงเอาไว้ ซึ่งยิ่งคุณออมเงินไปในบัญชีนั้นมากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งได้ดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น โดยแต่ละธนาคารก็มีเงื่อนไขในการฝาก เพื่อกระตุ้นให้คุณมีวินัยในการออมเงินเข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอ

เอาไปซื้อกองทุนรวม

มองหากองทุนสักตัวหนึ่งที่ให้ดอกเบี้ยจากการซื้อและมีความเสี่ยงต่ำ จากนั้นทำการซื้อในราคาเท่าเท่าเดิมทุกเดือน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มเงินเก็บฉุกเฉินให้มากขึ้นจากการปรับตัวขึ้นของราคากองทุน แต่จะไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ทันที จะต้องรอทำการ 2-3 วันหลังขอถอนคืน

ต้องเก็บเงินฉุกเฉินเท่าไหร่ถึงจะพอ

ต้องเก็บเงินฉุกเฉินเท่าไหร่ถึงจะพอ

การเก็บเงินฉุกเฉินสำหรับแต่ละคนนั้นควรอยู่ที่ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน หรือให้พอใช้ไปอีก 3-6 เดือน เช่น ถ้าคุณมีรายได้อยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 12,000 บาทต่อเดือน คุณก็ควรจะต้องมีเงินเก็บฉุกเฉินอยู่ที่ 36,000-72,000 บาท เพื่อนำมาใช้จ่ายในยามที่คุณเกิดว่างงานกระทันหัน

ก่อนเริ่มเก็บเงินฉุกเฉินควรทำอย่างไร

ลองเริ่มจากหักรายได้มาเก็บเอาไว้เดือนละ 500 บาท หรือ สำหรับคนที่ยังนึกไม่ออกว่าจะดึงเอาค่าใช้จ่ายส่วนไหนมาออมเป็นเงินฉุกเฉินดี อาจจะเริ่มจากดูค่าใช้จ่ายประจำได้แก่

  • ค่าผ่อนบัตรเครดิต
  • ค่าผ่อนสินเชื่อเงินกู้
  • ค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าน้ำ ค่าไฟ

ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถควบคุมได้ โดยทำการติดต่อกับธนาคารหรือเจ้าหนี้เพื่อทำการยืดระยะเวลาผ่อนชำระ คุณจะเสียค่างวดลดลงทำให้มีเงินหักมาเก็บในบัญชีเงินฉุกเฉินได้

อีกวิธีหนึ่งคือการลดค่าใช้จ่ายรายเดือนให้ถูกลง เช่น ค่ารายเดือนอินเทอร์เน็ตที่อาจจะโทรไปสอบถามโปรโมชั่นที่ถูกลง แต่การใช้งานยังคงคุ้มค่าอยู่ เพื่อดึงเอาส่วนต่างมาเก็บเอาไว้

สำหรับใครที่ไม่เคยวางแผนเก็บเงินฉุกเฉินมาก่อน แต่จำเป็นต้องใช้เงินก้อนด่วน เงินติดล้อมีบริการเปลี่ยนรถของคุณเป็นเงินสดได้ ด้วยสินเชื่อทะเบียนรถที่อนุมัติไว ไม่ต้องใช้คนค้ำ ไม่ต้องโอนเล่ม รับเงินสดทันทีได้ที่สาขา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรอกข้อมูลได้ที่ด้านล่างนี้ หรือติดต่อเงินติดล้อสาขาใกล้บ้านคุณ

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น