รู้ไหมว่า ปัญหาเรื่องเงินเป็นสิ่งที่คนไทยเครียดมากเป็นอันดับต้นๆ ในปัจจุบัน โดยจากการสำรวจของสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย (TFPA) พบว่า ประชาชนกว่า 42% เครียดในปัญหาด้านการเงิน และต้องเร่งแก้ไข ซึ่งความเครียดเรื่องเงินส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพจิตของคนเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเมื่อเรามีเงินไม่พอใช้ มีภาระหนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายเกินรายรับ ความกังวล และความเครียดจะเข้ามาครอบงำจิตใจจนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ดังนั้น การเรียนรู้วิธีจัดการกับความเครียดเรื่องเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ครับ
สำหรับใครที่ชอบฟัง Podcast เงินติดล้อก็มีช่องทางให้คุณได้ติดตามความรู้เกี่ยวกับการเงินสนุกสุดเพลิดเพลิน โดยใน EP. 26 มีความเครียดเรื่องการเงิน สุขภาพจิตเสีย ทำอย่างไรดี? สามารถรับฟังได้ทั้งใน Spotify และ Podbean
ผู้ดำเนินรายการ
คุณมกร จิตหาญ (Training Specialist, Financial Education)
คุณอารีย์ยาพร สุขโสภณธน (SVP Leadership & Life Coach, Tidlor Academy)
“มีปัญหาเรื่องเงิน” ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ปัญหาหนี้สินในสังคมไทยกำลังกลายเป็นวิกฤตที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราทุกคนจึงควรวางแผนเรื่องการเงินและจัดการหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิต หรือ “Mental Health” ด้วย เนื่องจากความเครียดเรื่องเงินมีผลโดยตรงต่อสภาพจิตใจ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ วิตกกังวล และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพกายตามมาได้ครับ
แชร์วิธีลดความเครียดเรื่องเงินเบื้องต้น ทำตามได้ทันที
หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่กำลังเครียดเรื่องการเงินอยู่ เงินติดล้อมีวิธีหลายอย่างที่ช่วยลดความเครียดเรื่องเงินได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินเพิ่มขึ้นทันที แต่เป็นการปรับมุมมองและวิธีจัดการกับปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะต้องทำอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยครับ
1. ยอมรับสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง
ขั้นแรกของการแก้ปัญหาคือการยอมรับความจริง ลองนั่งลง และทบทวนสถานะการเงินของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ว่ามีรายได้เท่าไร มีหนี้สินเท่าไร มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอะไรบ้าง การยอมรับความจริงจะช่วยให้เราตั้งสติและมองเห็นทางออกได้ชัดเจนขึ้น แทนที่จะหนีปัญหา หรือเพิกเฉย ซึ่งจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม
2. ใหักำลังใจตนเอง อย่าเครียดจนเกินไป
เมื่อเผชิญกับปัญหาการเงิน อย่าตำหนิตัวเองมากเกินไป ให้มองว่านี่เป็นบทเรียน และโอกาสในการเรียนรู้ ลองพูดกับตนเองในเชิงบวกว่า “ฉันจะผ่านช่วงเวลานี้ไปได้” หรือ “ฉันมีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้” การให้กำลังใจตนเองจะเป็นพลังสำคัญที่ช่วยให้เรามีแรงใจในการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ได้ครับ
3. ประหยัดแบบสุดโต่ง ก็อาจทำให้เกิดความเครียดได้
การประหยัดเงินเป็นสิ่งดี แต่การประหยัดแบบสุดโต่งจนไม่มีความสุขในชีวิตกลับทำให้เกิดความเครียดได้มากกว่า คุณควรจัดสรรค่าใช้จ่ายให้สมดุล มีเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับความบันเทิง หรือกิจกรรมที่ทำให้มีความสุขบ้าง แม้จะเป็นจำนวนไม่มาก แต่จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย และมีกำลังใจในการแก้ปัญหาต่อไป
4. รีบปิดหนี้เมื่อได้รับเงินก้อน (โบนัส)
เมื่อได้รับเงินก้อนใหญ่ เช่น โบนัสประจำปี ควรให้ความสำคัญกับการชำระหนี้ก่อนการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง เพราะยิ่งปล่อยไว้นาน ดอกเบี้ยก็จะยิ่งทบต้นมากขึ้น การลดภาระหนี้จะช่วยบรรเทาความเครียดเรื่องเงินได้อย่างเห็นได้ชัด และทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นในระยะยาวได้ครับ
5. จัดการความเครียดให้ดี และอย่าลืมดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยลดความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะร่างกายจะหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ การทำสมาธิ การหายใจลึกๆ หรือการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ ล้วนช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ สุขภาพกายและใจมีความเชื่อมโยงกัน เมื่อร่างกายแข็งแรง จิตใจก็จะเข้มแข็งตามไปด้วยครับ
แนะนำเทคนิควางแผนทางการเงินง่าย ๆ ช่วยให้มีเงินเก็บได้จริง
นอกจากการจัดการความเครียด การวางแผนทางการเงินที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเงินในอนาคต และช่วยแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน หากคุณไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนทางการเงินยังไง ลองทำตามเทคนิคเหล่านี้ได้เลยครับ
1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ช่วยลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เห็นภาพรวมทางการเงินได้ชัดเจน เมื่อบันทึกทุกรายการที่ใช้จ่าย คุณจะเห็นว่าเงินของคุณไปไหนบ้าง มีค่าใช้จ่ายใดที่ไม่จำเป็น และสามารถตัดออกได้ โดยเราแนะนำให้ใช้แอปพลิเคชัน Happy Money ที่พัฒนาโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการใช้บริหารจัดการเงินของคุณ เพราะมีฟังก์ชันที่จำเป็นครบครัน ไม่ว่าจะเป็น บันทึกรายรับ-รายจ่าย การแบ่งหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย ดูประวัติย้อนหลัง ตั้งงบประมาณเพื่อคุมการใช้จ่าย บริการแจ้งเตือนการรับ-จ่ายต่างๆ หรือวิเคราะห์สุขภาพทางการเงิน ที่สำคัญยังสามารถใช้งานได้แม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รับรองว่า จะช่วยให้การจัดการชีวิตการเงินของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิมแน่นอน!
2. แบ่งเงินเป็นสัดส่วน 50-30-20 ก่อนใช้จริง
หลักการแบ่งเงิน 50-30-20 เป็นวิธีเก็บเงินง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณมีเงินออมมากขึ้น โดยที่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขอยู่ โดยให้แบ่งรายออกมาเป็น 3 ก้อน ได้แก่
- 50% ของรายได้ ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ
- 30% ของรายได้ ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายตามความต้องการ เช่น ความบันเทิง การท่องเที่ยว
- 20% ของรายได้ ใช้สำหรับการออมและการลงทุน
วิธีนี้ช่วยให้คุณมีเงินเพียงพอสำหรับทุกด้านของชีวิต โดยไม่ลืมการออมเพื่ออนาคตด้วยครับ
3. เริ่มต้นออมทีละน้อย อย่าตั้งเป้าหมายใหญ่จนเกินไป
การออมเงินควรเริ่มต้นจากจำนวนเล็กๆ ที่ทำได้จริง แม้จะเป็นเพียงวันละ 10 บาท หรือเดือนละ 500 บาท ก็ยังดีกว่าไม่ได้ออมเลย เมื่อทำได้ตามเป้าหมายเล็กๆ จะเกิดความภูมิใจและมีแรงจูงใจในการออมเพิ่มขึ้น การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้จะทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุกและน่าท้าทาย แทนที่จะเป็นภาระที่น่าเบื่อ
4. ให้บริหารหนี้ที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่การบริหารหนี้อย่างไม่มีประสิทธิภาพต่างหากที่เป็นปัญหา ควรจัดลำดับความสำคัญของหนี้ตามอัตราดอกเบี้ย โดยชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น หนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงถึง 16% ต่อปี หรือใช้บริการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว สำหรับคนที่มีหนี้หลายก้อน แล้วบริหารจัดการไม่เก่ง นอกจากนี้ หากมีความสามารถในการชำระหนี้มากกว่ายอดขั้นต่ำ ก็ควรทำ เพื่อลดระยะเวลาและดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายด้วย
5. นำเงินเก็บไปต่อยอดการลงทุนต่อ
เมื่อมีเงินเก็บแล้ว ไม่ควรปล่อยให้เงินนอนนิ่งในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ควรศึกษาช่องทางการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น กองทุนรวม หุ้น หรือพันธบัตรรัฐบาล การลงทุนจะช่วยให้เงินงอกเงย และสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การลงทุนมีความเสี่ยง เราจึงควรศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนครับ
สรุปวิธีลดความเครียดเรื่องเงิน
ความเครียดเรื่องเงินเป็นสิ่งที่หลายคนต้องเผชิญ แต่ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้มันทำร้ายสุขภาพจิตของเรา การรับมือกับความเครียดเรื่องเงินเริ่มต้นจากการยอมรับสถานการณ์ ให้กำลังใจตัวเอง จัดการกับหนี้สินอย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในวิถีการใช้จ่ายนี้ ถ้าเราทำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาวแน่นอนสำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาทางการเงิน และต้องการเงินด่วน เพื่อแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า สินเชื่อทะเบียนรถยนต์จากเงินติดล้อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยการใช้เล่มทะเบียนรถเป็นหลักประกัน คุณสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีความปลอดภัย ยังใช้รถได้ตามปกติ และมีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม ช่วยให้คุณบรรเทาความเครียดเรื่องเงินและจัดการกับสถานการณ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ