จัดงานศพสวดวันเดียวเผาได้ไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องเตรียม

จัดงานศพสวดวันเดียวเผาได้ไหม มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องเตรียม
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

การจัดพิธีงานศพไทย ถือเป็นประเพณีสำคัญที่สะท้อนถึงความกตัญญู และความเคารพต่อผู้เสียชีวิต เป็นโอกาสสุดท้ายที่ลูกหลานและญาติมิตร จะได้แสดงความอาลัย ส่งดวงวิญญาณไปสู่สุคติ อย่างไรก็ตาม หลายครอบครัวอาจต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ ค่าใช้จ่ายงานศพต่างๆ ที่ต้องจัดหลายวัน ทำให้การจัดงานศพแบบสวดวันเดียวเผาเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น มาดูกันว่า การจัดงานศพสวดวันเดียวเผาค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง

การจัดพิธีงานศพไทยเป็นยังไง

การจัดพิธีงานศพไทยตามประเพณี เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อแสดงความอาลัย และความเคารพรักที่มีต่อผู้วายชนม์ ซึ่งระยะเวลาในการจัดงานมักขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ฐานะทางสังคม และความสามารถทางการเงินของเจ้าภาพ ยิ่งจัดนานก็ยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพที่สูง 

โดยพิธีกรรมสำคัญอย่าง "การสวดพระอภิธรรม" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "สวดหน้าศพ" อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ เจ้าภาพสามารถปรึกษากับทางวัด เพื่อกำหนดจำนวนคืนในการสวดพระอภิธรรมได้ตามความเหมาะสม โดยทั่วไปนิยมจัดการสวด 1 คืน, 3 คืน, 5 คืน หรือ 7 คืน นอกจากการสวดพระอภิธรรมแล้ว ในแต่ละวันของงานศพยังมีพิธีกรรมอื่นๆ ด้วย เช่น การรับแขกที่มาเคารพศพ การทำบุญเลี้ยงพระ และการรับประทานอาหารร่วมกันของญาติมิตรที่มาร่วมไว้อาลัย

การจัดงานศพสวดวันเดียวเผาค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

 ค่าใช้จ่ายจัดงานศพ

แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานศพให้กระชับขึ้น แต่พิธีการสำคัญทางศาสนา และการทำบุญอุทิศส่วนกุศลจะยังมีอยู่เหมือนเดิม กรณีที่เจ้าภาพสวดอภิธรรม 1 คืน ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบพิธีลอยอังคาร มีประมาณ 35,000 บาท ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร

  • ค่าทำใบมรณบัตรที่ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต ประมาณ 200 บาท 

ขั้นตอนการเตรียมงานศพ

  • ค่าอาบน้ำ แต่งตัวศพที่โรงพยาบาล ประมาณ 300 บาท
  • ค่าฉีดฟอร์มาลีนที่โรงพยาบาล ประมาณ 900 บาท
  • ค่าเคลื่อนย้ายศพไปสถานที่จัดงาน ประมาณ 2,500 บาท
  • ค่าห้องเก็บศพ ประมาณ 300 บาทต่อวัน (กรณีที่ต้องการฝากร่างของผู้เสียชีวิตไว้ก่อน)

ขั้นตอนสวดอภิธรรมศพ

กรณีที่เจ้าภาพสวดอภิธรรม 1 คืน ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมในส่วนนี้จะแตกต่างกันออกไป และเป็นค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถวางแผน และควบคุมให้อยู่ในงบประมาณของคุณได้

  • ค่าโลงศพ ประมาณ 2,500 - 100,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และวัสดุที่ใช้ทำ)
  • ค่าเช่าศาลาวัด เริ่มต้น 500 บาทต่อคืน (ขึ้นอยู่กับสถานที่ และขนาดของศาลา)
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผู้มาร่วมงาน ประมาณ 2,500 บาท (ขึ้นอยู่กับเมนูอาหารว่าง และจำนวนผู้มาร่วมงาน)
  • ค่าปัจจัยถวายพระ (ตามกำลังทรัพย์หรือความสะดวก)

ขั้นตอนฌาปนกิจศพ

สำหรับวิธีเผาจะมีทั้งการเผาแบบเตาถ่าน การเผาแบบใช้น้ำมัน และการเผาแบบเตาไฟฟ้า ซึ่งการเผาแบบเตาถ่านจะเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด

  • ค่าศาลาวันเผา ประมาณ 2,500 บาท
  • ค่าของชำร่วยงานศพ ประมาณ 4,000 - 6,000 บาท (ขึ้นอยู่กับประเภทของชำร่วย และจำนวนผู้มาร่วมงาน)
  • ค่าดอกไม้จันทน์ถุงละ ประมาณ 80 - 150 บาท
  • ค่าคนยกโลงศพ ผ้าบังสุกุล และผ้าไตร ประมาณ 4,000 บาท
  • ค่าบำรุงเมรุ และน้ำมันเผา ประมาณ 4,000 บาท (ขึ้นอยู่กับวิธีการเผา)

ขั้นตอนเก็บอัฐิ

  • ค่าเก็บอัฐิ และพิธีลอยอังคาร ประมาณ 10,000 บาท (รวมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้)

สรุป กรณีเจ้าภาพสวดอภิธรรม 1 คืน ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม จะเริ่มต้นประมาณ 35,000 บาท อาจมากกว่า หรือน้อยกว่านี้ได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในหลายส่วน คุณสามารถวางแผนควบคุมให้อยู่ในงบประมาณได้ เช่น ค่าอาหารว่าง ค่าของชำร่วยงานศพ ค่าปัจจัยถวายพระ เป็นต้น

ไม่มีเงินจัดงานศพทำยังไงได้บ้าง

กรณีครอบครัวที่มีฐานะยากจนมากๆ ไม่มีเงิน หรือความสามารถในการจัดการงานศพได้เลย ปัจจุบันมีทั้งมูลนิธิ และวัดหลายแห่ง ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือจัดงานศพแก่ผู้ยากไร้ โดยจะมีการสวดอภิธรรม 1 คืน และทำการเผาในวันถัดไป ดูแลให้ตั้งแต่ขั้นตอนการรับศพมาบำเพ็ญกุศลที่วัด ไปจนถึงขั้นตอนฌาปนกิจศพ

ขั้นตอนการจัดการงานศพของคนไทย

สำหรับลำดับขั้นตอนการจัดการงานศพของคนไทย อาจมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามความเชื่อ และประเพณีของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงฐานะทางสังคมของผู้เสียชีวิตและครอบครัว โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้

  • การแจ้งตาย เมื่อมีผู้เสียชีวิต ญาติต้องแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 24 ชั่วโมง นำบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต และผู้แจ้งไปยื่นที่ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต เพื่อนำใบมรณบัตรไปใช้ในขั้นตอนอื่นๆ 
  • การนำศพไปวัด ติดต่อวัดที่จะใช้ประกอบพิธีเพื่อจองวัน เวลา และนำศพไปยังวัด โดยจะมีการสวดบทสวดสั้นๆ ก่อนเคลื่อนย้ายศพ
  • การรดน้ำศพ จัดเตรียมน้ำอบและดอกไม้สำหรับรดน้ำศพ เป็นขั้นตอนแสดงความเคารพ และอำลาผู้เสียชีวิตครั้งสุดท้าย
  • การจัดงานบำเพ็ญกุศล และการสวดอภิธรรม จัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ที่ตั้งศพ และนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรม โดยมีญาติและผู้มาร่วมงานฟังสวดร่วมกัน 
  • การฌาปนกิจศพ เลือกวันเวลาที่เหมาะสมตามความเชื่อ หรือความสะดวก ก่อนการเผาจะมีพิธีทางศาสนา เช่น การสวดมาติกา เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับในช่วงท้ายของพิธี
  • การเก็บอัฐิ หลังจากเผาศพแล้ว 1 วัน จะมีการเก็บอัฐิ ญาติจะร่วมกันเก็บกระดูกที่เหลือจากการเผาใส่ภาชนะ อาจนำอัฐิไปบรรจุในเจดีย์ หรือสถานที่ที่ครอบครัวเห็นสมควร
  • การลอยอังคาร เป็นการนำเถ้ากระดูกที่เหลือจากการเก็บอัฐิไปลอยในแม่น้ำหรือทะเล เพื่อการปล่อยวาง และส่งดวงวิญญาณสู่สุคติ อาจมีการทำพิธีสงฆ์เล็กน้อยก่อนการลอยอังคาร

สรุป การจัดงานศพสวดวันเดียวเผาค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องเตรียมให้พร้อม

การจัดงานศพแบบสวดวันเดียวเผา ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การจัดการงานศพเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ไม่สามารถเลื่อนออกไปได้ ครอบครัวควรวางแผนค่าใช้เอาไว้จ่ายให้ดี โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายหลักๆ เช่น ค่าโลงศพ ค่าสถานที่ ค่าพิธีกรรมทางศาสนา และค่าฌาปนกิจ เงินติดล้อมีบริการสินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ต้องเตรียมเอกสารเยอะ อนุมัติภายใน 1 วันทำการเท่านั้น ให้คุณได้เงินสดไปใช้จัดงานศพให้กับญาติผู้ใหญ่ได้ในทันที ช่วยจัดการศพได้ราบรื่น หมดห่วงทั้งผู้วายชนม์ และคนอยู่ข้างหลัง

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น