พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมล่าสุด LGBTQIAN+ สมรสกันได้ตามกฎหมาย

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมล่าสุด LGBTQIAN+ สมรสกันได้ตามกฎหมาย
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

อัปเดต กฎหมายสมรสเท่าเทียมล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ประชุมวุฒิสภามีมติ “เห็นชอบ” การร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระสาม โดยกระบวนการต่อไป หากพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย การสมรสเท่าเทียมนี้ จะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสังคมไทย ทั้งในแง่กฎหมาย สังคม และวัฒนธรรม ถือเป็นการยอมรับความหลากหลายทางเพศ และส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคมไทยอย่างเป็นทางการ ให้คุณวางแผนแต่งงานได้อย่างที่ต้องการ และมีความสบายใจมากยิ่งขึ้น

การสมรสเท่าเทียมคืออะไร 

การสมรสเท่าเทียม

การสมรสเท่าเทียม คือ การให้สิทธิ์ในการแต่งงาน สิทธิ์ในการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าจะมีเพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศแบบไหน เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการสร้างครอบครัวตามกฎหมาย และตามหลักความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติเพราะเพศ หรือความชอบทางเพศ

“เพศวิถี” เป็นเรื่องของความชอบทางเพศ เช่น ชอบเพศเดียวกัน ต่างเพศ หรือทั้งสองเพศ

“อัตลักษณ์ทางเพศ” เป็นความรู้สึกของบุคคลนั้นว่าตัวเองเป็นเพศอะไร บางคนอาจรู้สึกไม่ตรงกับเพศที่เกิดมา หรือเรียกว่า "คนข้ามเพศ" ซึ่งจะมีความหลากหลายทางเพศแยกลงไปอีก ได้แก่ 

  • เกย์ (Gay) : ผู้ชายที่ชอบผู้ชาย
  • เลสเบี้ยน (Lesbian) : ผู้หญิงที่ชอบผู้หญิง
  • คนรักสองเพศ (Bisexual) : คนที่ชอบได้ทั้งชายและหญิง
  • คนข้ามเพศ (Intersex) : คนที่รู้สึกว่าเพศของตนไม่ตรงกับเพศที่เกิดมา
  • คนมีเพศกำกวม (Queer) : คนที่ไม่ระบุว่าตนเองเป็นเพศใดเพศหนึ่งอย่างชัดเจน

การทำความเข้าใจเรื่องนี้ จะช่วยให้คุณเห็นว่า ทำไมกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงมีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่มในสังคม ไม่ว่าพวกเขาจะนิยามตัวเองว่าเป็นเพศอะไร หรือชอบเพศไหนก็ตาม

สาระสำคัญของร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

กฎหมายสมรสเท่าเทียม

ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ เป็นการเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสมรส โดยใจความสำคัญของ พ.ร.บ.คู่ชีวิตนี้คือ การแก้ไขข้อความจาก “ผู้ที่จะสมรสต้องเป็นชาย-หญิง” เป็นคำว่า “บุคคลสองคน” มีสาระสำคัญ ดังนี้

การหมั้น

บุคคลสองคน (ทุกเพศ) หมั้นกันได้ โดยมีการปรับอายุขั้นต่ำสำหรับบุคคลที่จะทำการหมั้นจาก 17 ปีเป็น 18 ปีบริบูรณ์ กรณีผู้เยาว์ มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หากจะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง

การสมรส

บุคคลสองคน (ทุกเพศ) สมรสกันได้ โดยมีการปรับอายุขั้นต่ำสำหรับบุคคลที่จะทำการสมรสจาก 17 ปีเป็น 18 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นจะมีเหตุอันสมควร เช่น มีครรภ์ก่อนอายุ 18 ศาลอาจอนุญาตให้สมรสก่อนนั้นได้ กรณีผู้เยาว์ มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หากจะทำการสมรสต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง

พ.ร.บ.คู่ชีวิต ประกาศใช้เมื่อไหร่ เงินติดล้อสรุปให้

ปัจจุบัน พ.ร.บ.คู่ชีวิต หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ ยังไม่ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ยังคงอยู่ในกระบวนการให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย จึงจะประกาศราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยในมาตรา 2 ของร่างกฎหมายระบุว่า ให้กฎหมายใช้บังคับเมื่อพ้น 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

สิทธิประโยชน์ของการสมรสเท่าเทียมมีอะไรบ้าง

พ.ร.บ. คู่ชีวิตนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของคู่รัก LGBTQIAN+ ให้เท่าเทียมกับคู่สมรสต่างเพศในทุกด้าน ดังนี้

  1. สิทธิ์ในการสมรส
  • คู่รัก LGBTQIAN+ สามารถจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมกันตามกฎหมาย
  • มีสิทธิ์ในการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้างเช่นเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ
  1. สิทธิ์เกี่ยวกับบุตรบุญธรรม
  • คู่สมรส LGBTQIAN+ สามารถเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
  1. สิทธิ์ในการดูแลชีวิตคู่สมรส
  • สามารถตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลแทนคู่สมรสได้
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส
  1. สิทธิ์ในการรับมรดก
  • เป็นทายาทโดยธรรมของคู่สมรสที่เสียชีวิต
  1. สิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สิน
  • สามารถบริหารจัดการสินสมรสร่วมกันตามกฎหมาย
  • มีสิทธิ์ในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน
  1. สิทธิ์ทางการเงิน
  • สามารถกู้ร่วมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ในฐานะคู่สมรสได้

สรุป กฎหมายสมรสเท่าเทียมล่าสุด

ถึงแม้ว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมล่าสุดนี้ จะยังไม่ได้บังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ถือเป็นก้าวสำคัญในการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของคู่รัก LGBTQIAN+ ให้เท่าเทียมกับคู่สมรสต่างเพศในหลายๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่รอการประกาศบังคับใช้นี้ หากคู่รักคู่ไหนที่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เงินติดล้อมีบริการสินเชื่อทะเบียนรถ เป็นทางเลือกที่ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินในระยะสั้นให้กับคุณได้ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ให้คุณผ่านปัญหาทางการเงินร่วมกันได้อย่างราบรื่น

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนมาแล้วเกินครึ่ง และไม่มีประวัติค้างชำระ ก็ขอสินเชื่อได้
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น