หน้าแรก ตอบทุกคำถาม คำศัพท์น่ารู้

ตอบทุกคำถาม

คำศัพท์น่ารู้

สินเชื่อ

ตอบ :
  1. รถบรรทุก คือ รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ สิ่งของ ซึ่งมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น รถกระบะบรรทุก, รถตู้บรรทุก, รถบรรทุกของเหลว, รถบรรทุกวัสดุอันตราย, รถบรรทุกเฉพาะกิจ, รถพ่วง, รถกึ่งพ่วง, รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว, รถลากจูง
  2. รถบรรทุกห้าง คือ รถบรรทุกที่ผลิตและจำหน่ายโดยตรงจากโรงงาน มีการประทับตรายี่ห้อ เช่น HINO, ISUZU, SCANIA, FOTON, UD TRUCKS, FUSO, TATA
  3. รถบรรทุกประกอบ คือ รถบรรทุกมือสองที่เกิดจากการนำเอาชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบกันโดยอู่ทั่วไปในประเทศไทย อู่รถจะทำการประกอบ หัวรถ, เครื่องยนต์ ,แชสซี ,ระบบส่งกำลัง หรือ เกียร์ เข้าด้วยกันโดยชิ้นส่วนแต่ละชิ้นอาจมีที่มาแตกต่างกัน หรือ อาจจะคนละยี่ห้อ แต่สามารถนำมาประกอบกันเป็นรถบรรทุก 1 คันได้
  4. ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง คือ เอกสารที่อนุญาตให้ใช้รถเพื่อการขนส่ง การค้า โดยเป็นเอกสารที่ผู้ที่ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งสินค้าจะต้องมี
  5. สินเชื่อทะเบียนรถบรรทุก คือ สินเชื่อที่มีทะเบียนรถบรรทุกเป็นประกัน โดยเจ้าของรถบรรทุกสามารถกู้สินเชื่อนี้ เพื่อเป็นการนำเงินไปใช้จ่ายหรือเสริมสภาพคล่องได้ อีกทั้งยังคงสามารถครอบครองรถบรรทุกเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ โดยสามารถผ่อนชำระนานได้สูงสุดถึง 60 งวด (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด)
  6. สินเชื่อรถบรรทุกซื้อขาย คือ สินเชื่อประเภทเช่าซื้อ ที่มีจุดประสงค์ให้กู้ยืมสำหรับการซื้อขายรถบรรทุกมือสอง ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุกที่เป็นการนำเล่มทะเบียนรถบรรทุกที่มีอยู่แล้วมาใช้เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืม
    โดยหากใครสนใจซื้อ ขาย รถบรรทุกมือสอง เงินติดล้อ พร้อมให้บริการสินเชื่อรถบรรทุกซื้อขาย โดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อ ซึ่ง ซื้อก็ง่าย ขายก็ไว และยังรับรถอายุสูงสุดถึง 25 ปี ผ่อนสบายได้นานสูงสุด 60 เดือน (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด) คลิกดูรายละเอียด
  7. ค่าดำเนินการล่วงหน้า คือ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเอกสาร ค่าดำเนินการ และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บก่อนการพิจารณาสินเชื่อ ซึ่งในปัจจุบัน เงินติดล้อ ไม่มีการเรียกเก็บค่าดำเนินการล่วงหน้าใดๆ
  8. รวมค่าเบี้ยประกันในค่างวด คือ การนำค่าเบี้ยประกันรถบรรทุก ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่ มาแบ่งยอดเป็นงวดๆและรวมเข้ากับยอดสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกซื้อขายในแต่ะละงวดเป็นยอดชำระเดียว เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการชำระเงินค่าประกันก้อนใหญ่ให้กับลูกค้าผู้ขอสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุก
สินเชื่อรถบรรทุกซื้อขายเงินติดล้อ รวมค่าเบี้ยประกันในค่างวดได้ ไม่มีค่าดำเนินการล่วงหน้า รับทั้งรถห้างและรถประกอบ รับรถอายุสูงสุด 25 ปี แถมให้วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้าน ผ่อนสบายได้นานสูงสุด 60 เดือน (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด) คลิกดูรายละเอียด

ตอบ :
  1. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ คือ สินเชื่อกู้ยืมเงินรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้เล่มทะเบียนรถเป็นประกันการชำระหนี้ มีข้อดีคือคุณยังสามารถใช้ประโยชน์จากรถได้ตามปกติในฐานะเจ้าของรถ ไม่จำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้กับผู้ให้สินเชื่อ โดยสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการให้สินเชื่อจะทำสัญญา และ เอกสารต่างๆ เพื่อให้คุณโอนทะเบียนรถไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ และจะทำหน้าที่เก็บรักษาเล่มทะเบียนรถเอาไว้เป็นประกัน จนกว่าคุณจะผ่อนชำระค่างวดครบ และจะไม่มีการโอนเล่ม หรือเปลี่ยนกรรมสิทธ์เจ้าของรถใดๆ ทั้งสิ้นหากคุณผ่อนชำระปกติตามสัญญา สนใจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
  2. เล่มทะเบียนรถ คือ สมุดที่ใช้บันทึกรายละเอียดของรถแต่ละคัน เช่น หมายเลขทะเบียนรถ, หมายเลขตัวถัง, หมายเลขเครื่องยนต์, ปีที่จดทะเบียน, เจ้าของกรรมสิทธิ์รถ, ประวัติการครอบครองรถ, ประวัติการเสียภาษี และอื่นๆ ซึ่งหากใครอยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเล่มทะเบียนรถ อ่านได้ที่นี่เลยครับ รวม 5 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเล่มทะเบียนรถ
  3. โอนลอย คือ การส่งมอบทะเบียนรถให้แก่สถาบันการเงิน พร้อมจัดทำใบมอบอำนาจเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยนต์ทิ้งไว้ หากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้จนถึงกระบวนการยึดทรัพย์ กรรมสิทธิ์รถจึงจะตกเป็นของสถาบันการเงิน แตกต่างจากการขอสินเชื่อรถแบบโอนเล่มทะเบียน ที่เจ้าของรถจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ปล่อยกู้ทันทีที่กู้ยืม และจะต้องไปโอนด้วยตนเองที่กรมขนส่งทางบก ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มเติม
  4. ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่จะต้องเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับผู้กู้ รถยนต์ เพื่อเป็นการรับรองว่าบุคคลนี้จะสามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาที่ทำไว้ ซึ่งหากผู้ขอสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้ หรือติดต่อไม่ได้ สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการให้สินเชื่อผู้ปล่อยสินเชื่อก็จะดำเนินการติดตามหนี้ที่ผู้ค้ำประกันแทน
  5. วงเงินสินเชื่อ คือ วงเงินกู้ที่คุณจะได้รับ จากการขอสินเชื่อโดยใช้เล่มทะเบียนรถเป็นประกัน ซึ่งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการให้สินเชื่อจะประเมินวงเงินปล่อยกู้จากยี่ห้อ รุ่น และสภาพรถของคุณ
  6. ยอดผ่อนชำระต่อเดือน คือ จำนวนเงินที่คุณต้องผ่อนชำระคืนให้กับสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการให้สินเชื่อในทุกๆ เดือนตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ซึ่งในยอดผ่อนชำระจะประกอบไปด้วย เงินต้น และดอกเบี้ย ตามที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการให้สินเชื่อกำหนด
  7. วันกำหนดชำระ (Due Date) คือ วันครบกำหนดชำระค่างวด ซึ่งหากชำระเกินวันที่ระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ ก็อาจจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม หรือค่าปรับเพิ่มเติม จากยอดผ่อนชำระปกติ และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  8. ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมจากยอดผ่อนชำระต่อเดือน หากคุณค้างชำระหนี้เกินระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โดยการคิดค่าใช้จ่ายในการทวงถามเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยครับ
  9. ประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ (PPI) คือ ประกันชีวิตคุ้มครองผู้ขอสินเชื่อ ในระยะเวลาที่ถือครองสินเชื่อ โดยหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงที่ทำให้ผู้ขอสินเชื่อทุพพลภาพ หรือถึงแก่ชีวิต บริษัทที่รับทำประกันจะชำระค่างวดที่เหลือแทน ทำให้ภาระหนี้ไม่ตกเป็นของคนข้างหลัง และสำหรับใครที่สนใจขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ แบบไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน แถมเลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองวงเงินสินเชื่อเพิ่ม เพื่อไม่ให้ภาระหนี้ตกเป็นภาระของคนในครอบครัว

ตอบ :
  1. หนี้ คือ เงิน หรือสินทรัพย์จำนวนหนึ่ง ที่ได้มีพันธะสัญญาระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไป ว่าจะเกิดการยืม- คืน โดยมีข้อกำหนด ซึ่งหนี้อาจเกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงิน การซื้อสินค้า บริการด้วยเงินเชื่อ หรือเงินผ่อน
  2. เงินกู้นอกระบบ คือ การยืมและให้ยืมเงินที่ฝ่ายผู้ให้ยืมไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถาบันการเงิน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขต่างๆ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของฝั่งผู้ให้ยืม ซึ่งมักสูงเกินที่กฎหมายหรือทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทำให้เกิดปัญหาลูกหนี้ถูกเอารัด เอาเปรียบ จากสัญญากู้ยืมเงินที่ไม่เป็นธรรมตามมา (สามารถตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดได้ที่นี่เลยครับ) หรือหากใครที่ไม่อยากเจอปัญหาสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แต่ต้องการเงินด่วน ปรึกษาเงินติดล้อได้ที่นี่
  3. สัญญาเงินกู้นอกระบบ เป็นหลักฐานหนึ่งที่ใช้ประกอบการกู้เงินของผู้ให้กู้ และผู้ขอกู้ ว่าได้ทำสัญญาการกู้ยืมเป็นจำนวนเท่าไหร่ มีการคิดอัตราดอกเบี้ยอย่างไร และจะใช้คืนภายในระยะเวลาใด ซึ่งในหนังสือสัญญากู้เงินนอกระบบ มักไม่มีกำหนดระยะเวลา หรืออัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหา การคิดดอกลอย ตามมา สัญญาเงินกู้นอกระบบมักจะไม่เขียนวงเงินกู้ที่แท้จริง และไม่มีสำเนาสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
  4. ค่างวด คือ ยอดที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน โดยคำนวณจากยอดเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาในการกู้ ซึ่งการกู้เงินนอกระบบมักไม่กำหนดค่างวดที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด และวันที่จ่ายค่างวด หรือระบุว่า ค่างวดนำไปหักเงินต้น เท่าไหร่ หักดอกเบี้ยเท่าไหร่
  5. เงินกู้นอกระบบรายวัน คือการปล่อยกู้ที่ลูกหนี้ต้องจ่ายค่างวดเป็นรายวัน โดยเงินที่กู้นั้นจะได้รับไม่เต็มจำนวน จะถูกหักดอกเบี้ยหรือ ค่าธรรมเนียมก่อน ส่วนใหญ่เจ้าหนี้นอกระบบจะให้ลูกหนี้จ่ายเป็นรายวันทุกวันหลังได้รับเงินกู้ เป็นระยะเวลา 25 วัน หรือ 45 วันตามวงเงินกู้ เพื่อให้ลูกหนี้สับสนเรื่องดอกเบี้ยว่าถูกคิดร้อยละเท่าไรต่อเดือน
  6. เงินกู้นอกระบบรายเดือน คือ การปล่อยกู้ที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายค่างวดเป็นรายเดือน มักเจอในกรณีการกู้ที่มีรายได้ประจำเป็นรายเดือน และต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันทิ้งไว้ให้เจ้าหนี้ เช่น บัตร ATM ที่เงินเดือนเข้า, รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์,แต่ต้องจอดรถไว้ หรือหลักทรัพย์อื่นๆ ที่ทาง ผู้ให้กู้พอจะยึดถือไว้ได้ และผู้กู้จะได้คืนก็ต่อเมื่อชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยได้ครบจำนวน
  7. ดอกลอย คือ รูปแบบการเก็บดอกเบี้ยแบบหนึ่ง ของเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเมื่อกู้เงินมาแล้วผู้กู้จะต้องจ่ายดอกเป็นรายวัน หรือรายเดือน ตามที่ตกลงกัน ไม่สามารถผ่อนเงินต้นได้ หนี้จะสิ้นสุดต่อเมื่อผู้กู้นำเงินต้นมาคืนทั้งหมดเท่านั้น เป็นศัพท์ที่จะเจอพร้อม กับคำว่า ‘เงินกู้รายวัน’ หรือ ‘เงินกู้รายเดือน’ โดยลูกหนี้จะถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยจากเจ้าหนี้ทุกวัน หรือทุกเดือน จนกว่าจะสามารถหาเงินต้นมาคืนได้เต็มจำนวน โดยดอกลอยที่ลูกหนี้จ่ายให้กับเจ้าหนี้ จะไม่ถูกหักในส่วนเงินต้นที่กู้ยืมมา

    ตัวอย่างการกู้เงินรายวัน เช่น นาง A กู้เงินนอกระบบมา 10,000 บาท และต้องจ่ายดอกเบี้ยวันละ 2% หรือวันละ 200 บาท

    ผ่านไป 30 วัน หากนาง A ไม่สามารถหาเงิน 10,000 บาทมาคืนได้...แสดงว่านาง A จ่ายดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้มาแล้ว 6,000 บาท (มาจากดอกเบี้ยวันละ 200 บาท x จำนวน 30 วัน) ซึ่งเงินจำนวนนี้จะไม่ถูกหักจากยอดเงินต้น 10,000 บาท

    แต่หากต้องการเงินด่วน มองหาเงินกู้ที่ไม่ต้องเสี่ยงกับสัญญาไม่เป็นธรรม หรือดอกเบี้ยที่สูงเกินปกติหรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ให้เงินติดล้อช่วยคุณ เรามีทั้ง สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ และสินเชื่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ กู้เงินด่วน อนุมัติไว ได้เงินเร็ว ไม่ต้องใช้คนค้ำ ไม่ต้องโอนเล่ม รับเงินสดได้ทันที รถยังมีขับ ไม่ต้องทิ้งรถไว้ โปร่งใสและเชื่อถือได้ ปรึกษาเงินติดล้อเลย
  • ช่องทางการติดต่อ
  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

ประกัน

ตอบ :
  1. กรมธรรม์ (Policy) คือ หนังสือสัญญาที่ออกโดยผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) เป็นเอกสารที่แสดงเงื่อนไข และข้อตกลงระหว่างผู้ทำประกันภัยกับบริษัท เพื่อใช้เป็นหลักฐานข้อตกลง เงื่อนไข และความคุ้มครองตามสัญญา เช่น ประเภทของประกัน เบี้ยประกัน ทุนประกัน วันครบกำหนดสัญญา เป็นต้น
  2. ทุนประกัน ทุนเอาประกันภัย หรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัย (Sum Insured) คือ จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) จะต้องชดใช้ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับรถยนต์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ จะไม่เกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา
  3. ผู้รับประกันภัย (The Insurer) คือ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง (บริษัทประกันภัย) มีหน้าที่พิจารณารับประกันภัย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญา ในการชดใช้นั้นอาจชดใช้เป็นเงินสด การซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม หรือการหาของชิ้นใหม่มาทดแทน
  4. ผู้เอาประกันภัย (The Insured) คือ ผู้ซื้อประกันรถยนต์ ตลอดจนชำระเบี้ยตามประกันสัญญา และเมื่อเกิดความเสียหายก็สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นจากบริษัทประกันได้
  5. ผู้รับผลประโยชน์ (The Beneficiary) คือ บุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ที่มีสิทธิ์เข้ารับค่าสินไหมตามข้อตกลงในสัญญา หรืออาจจะเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้ แต่หากกรณีผู้รับเป็นคนอื่น เรา(ผู้เอาประกันภัย)ก็จะไม่มีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
  6. เบี้ยประกัน (Premium) คือ จำนวนเงินที่เราต้องชำระให้แก่บริษัทประกันภัย เพื่อเป็นค่าทำประกันภัย หากไม่ชำระเบี้ยประกัน และรถเกิดความเสียหาย ทางบริษัทประกันสามารถปฏิเสธจ่ายสินไหมทดแทนได้ จนกว่าผู้ทำประกันจะชำระเบี้ยตามที่ตกลงไว้ โดยสามารถเลือกจ่ายปีละครั้ง หรือเลือกผ่อนสบายๆ กับประกันรถยนต์ ของเงินติดล้อก็ได้ครับ
  7. ค่าสินไหมทดแทน (Claim Amount) คือ ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นของผู้เอาประกัน เรียกร้องให้ผู้รับประกันชดใช้ โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ต้องเป็นไปตามที่กรมธรรม์ระบุไว้
  8. ซ่อมห้าง คือ การที่ประกันภัยคุ้มครองรถยนต์ อนุญาตให้นำรถไปซ่อมที่ศูนย์บริการของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ หรืออู่บริการที่คุณภาพมาตราฐานเทียบเท่า
  9. เคลมสด คือ การเคลม ณ ที่เกิดเหตุ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัยไปตรวจสอบทันที โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
    • แบบมีคู่กรณี คือ การที่รถชนกันเอง เจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าผ่ายใดเป็นฝ่ายผิด โดยฝ่ายที่ผิดอาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกให้กับคู่กรณีก่อน
    • แบบไม่มีคู่กรณี คือ กรณีที่ผู้ถือประกัน ชนเข้ากับสิ่งของ หรือวัตถุจนเกิดความเสียหาย เช่น เสาไฟฟ้า ต้นไม้ เป็นต้น หากเป็นกรณีนี้ผู้เสียหายจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก
  10. เคลมแห้ง คือ การแจ้งเคลม หลังจากที่เหตุการณ์ผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง (ไม่ควรเกิน 2-3 วัน) ส่วนมากเป็นแบบอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี เช่น ขับเฉี่ยว หรือชนเบาๆ โดยต้องจำเหตุการณ์ให้แน่ชัดว่าชนกับอะไร วันและเวลาไหน เพื่อแจ้งเคลมกับบริษัทประกัน
  11. ค่าเสียหายส่วนแรก คือ เป็นเงินค่าเสียหายที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันรถเป็นคนจ่ายค่าเสียหาย เพื่อป้องกันผู้ที่แจ้งเคลมโดยไม่มีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง เพื่อหวังซ่อมกับบริษัทประกันภัย

ตอบ :
  1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD - Outpatient Department) : คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่า สามารถเข้ารับการรักษา รับยา และกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เช่น เป็นไข้หวัดเล็กน้อย มีอาการท้องเสีย มีอาการปวดศีรษะ ตาแดง
  2. ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD - In Patient Department) : คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่า ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งจะคุ้มครอง ค่าห้องพัก ค่าอาหารและยา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าพยาบาล ค่าผ่าตัด และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาล (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์)
  3. ทุนประกันสุขภาพ : คือ วงเงินความคุ้มครองที่บริษัทประกันจะจ่ายให้กับเราเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเจ็บป่วยตามเงื่อนไขกรมธรรม์ โดยจะดูแลครอบคลุมการเข้ารับการรักษาตามกระบวนการการรักษาของแพทย์
  4. เบี้ยประกันสุขภาพ : คือ จำนวนเงินที่เราจ่ายให้กับบริษัทประกัน เป็นรายงวด เช่น รายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี เพื่อแลกกับการรับวงเงินความคุ้มครองที่บริษัทประกันจะให้กับเราและสำหรับใครที่กำลังมองหาประกันมะเร็ง เบี้ยประกันเริ่มต้นวันละ 3 บาท* ให้ค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 600,000 บาท พร้อมค่าเดินทางไปรับการรักษา และค่าสินไหมทดแทนทันทีที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งครั้งแรก รับเลยเงินก้อน สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
  5. สภาพที่เป็นก่อนการเอาประกัน : คือ อาการและโรคที่แพทย์เคยวินิจฉัยว่าป่วย ก่อนการทำประกัน ซึ่งประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไข “ไม่คุ้มครองสภาพที่เป็นมาก่อนเอาประกัน” ดังนั้นหากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต หรืออื่นๆ ก่อนทำประกันสุขภาพ ก็จะไม่สามารถเคลมรับวงเงินค่ารักษาพยาบาลในโรคนั้นๆ จากบริษัทประกันได้
  6. ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) : คือ ระยะเวลาที่ผู้ทำประกันยังไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หลังจากวันที่กรมธรรม์มีผลคุ้มครอง โดยอาจมีระยะเวลารอคอยตั้งแต่ 14 - 120 วัน (ควรตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้งก่อนตัดสินใจทำประกัน)
  7. การตรวจวินิจฉัยซ้ำ : คือ การตรวจเป็นครั้งที่ 2 จากแพทย์ท่านอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ท่านแรกที่ตรวจ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยโรค ซึ่งจะพบได้ในกรณีการตรวจพบโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง และสำหรับใครสนใจทำประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น ประกันโควิด ที่ดูแลครอบคลุมโรคฮิตที่พบบ่อยในไทย เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก  โรคร้ายจากยุง หรือประกันมะเร็ง
  • ติดต่อเราที่ช่องทางเหล่านี้ได้เลย
  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

ตอบ :
  1. พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) คือ ประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันที่ขึ้นทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกคันจะต้องมีโดยจะคุ้มครองค่ารักษาหากเกิดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
  2. ภาษีรถยนต์ - ภาษีรถมอเตอร์ไซค์ คือ ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้รถจะต้องชำระให้กับกรมขนส่งทางบกในทุกปี โดยรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ที่จะสามารถต่อภาษีได้ จะต้องผ่านการชำระพ.ร.บ. ซึ่งเป็นประกันภัยภาคบังคับแล้วเท่านั้น
  3. ป้ายวงกลม (ป้ายภาษี) คือ ป้ายที่กรมขนส่งทางบกออกไว้ให้รถที่ชำระภาษีประจำปีแล้ว นำไปติดที่รถเพื่อแสดงว่าได้ชำระภาษีถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากใครป้ายวงกลมหายก็ไม่ต้องกังวล อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย ป้ายวงกลม หรือป้ายภาษีหาย ทำไงดี?
  4. ค่าเสียหายเบื้องต้น คือ วงเงินที่ผู้ประสบภัยทางรถจะได้รับความคุ้มครองทันทีที่ประสบอุบัติเหตุ จากประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่าใครถูกหรือผิด โดยจะครอบคลุมในกรณีค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น โดยมีเงื่อนไขจ่ายในแต่ละกรณี ดังนี้
    • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
  5. ค่าสินไหมทดแทน(ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) คือ คือ วงเงินความคุ้มครองที่ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จะจ่ายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูกเท่านั้น โดยมีวงเงินความคุ้มครอง ดังนี้
    • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
    • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
    • ค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
  6. บริษัทกลางประกันภัย คือ บริษัทตัวกลางในการเบิกจ่ายค่าสินไหมต่างๆ ตามที่ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) กำหนดให้ผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ โดยในการยื่นเรื่องขอรับเงินสำรองจ่าย ในกรณีที่จ่ายค่า
    • ใบแจ้งความ
    • ใบรับรองแพทย์
    • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบเหตุ หรือใบมรณะบัตรในกรณีเสียชีวิต
    • สำเนาบัตรประชนชนของทายาทผู้รับผลประโยชน์
  7. และสำหรับใครที่ พ.ร.บ. รถยนต์ประจำปีใกล้จะหมดอายุ  ประกันติดโล่มีบริการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สำหรับรถทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น รถมอเตอร์ไซค์, รถเก๋ง / กระบะ 4 ประตู, รถบรรทุก / กระบะ 2 ประตู หรือ รถโดยสารมากกว่า 7 ที่นั่ง รับรองว่าสะดวก รวดเร็ว แถมไม่มีการบวกค่าธรรมเนียมเพิ่ม