หลายคนคงเห็นข่าวรถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่ากฎหมายกำหนด จนทำให้ถนนทรุดตัว สร้างความเสียหาย และความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ยิ่งเป็นถนนในกรุงเทพฯ ก็จะยิ่งทำให้การจราจรติดขัดเข้าไปอีก คนขับรถบรรทุกและเจ้าของรถบรรทุกทุกคน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายน้ำหนักรถบรรทุก คอยอัปเดตข้อมูลข่าวสาร หรือกฎหมายรถบรรทุกอื่น ๆ อยู่เสมอ เพราะแม้คุณจะไม่ใช่คนขับ ถ้าเจ้าหน้าที่สืบสวนพบว่าเจ้าของรถบรรทุกมีส่วนรู้เห็น ก็จะถูกดำเนินคดีได้ด้วยเช่นกัน
รถบรรทุกแต่ละประเภทมีน้ำหนักเท่าไหร่
สำหรับน้ำหนักตัวรถบรรทุกอย่างเดียว ยังไม่รวมน้ำหนักบรรทุก หรือรถเปล่า จะขึ้นอยู่กับประเภท ยี่ห้อ และรุ่นของรถ โดยทั่วไปอาจมีน้ำหนักโดยประมาณ ดังนี้
- น้ำหนักรถบรรทุก 4 ล้อ ประมาณ 2,000 - 3,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักรถบรรทุก 6 ล้อ ประมาณ 4,000 - 6,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักรถบรรทุก 10 ล้อ ประมาณ 6,000 - 8,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักรถบรรทุก 12 ล้อ ประมาณ 6,000 - 8,000 กิโลกรัม
- น้ำหนักรถบรรทุก 18 ล้อ ประมาณ 8,000 - 12,000 กิโลกรัม
อัปเดต กฎหมายน้ำหนักรถบรรทุก 2567
แม้รถบรรทุกแต่ละคันจะมีความสามารถในการบรรทุกของได้มาก แต่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายน้ำหนักรถบรรทุกอย่างเคร่งครัด โดยบทลงโทษกรณีบรรทุกน้ำหนักเกินตาม พรบ.ทางหลวง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ เงินติดล้อจึงได้สรุปกฎหมายรถบรรทุก 4 ล้อ น้ำหนักรวมตัวรถต้องไม่เกินเท่าไหร่ ไปจนถึงน้ำหนักบรรทุกรถพ่วงมาให้เรียบร้อยแล้ว
ประเภทรถบรรทุก
|
น้ำหนักรถบรรทุก รวมน้ำหนักบรรทุก
|
รถบรรทุก 4 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 9.5 ตัน (9,500 กิโลกรัม)
|
รถบรรทุก 6 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 15 ตัน (15,000 กิโลกรัม)
|
รถบรรทุก 10 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 25 ตัน (25,000 กิโลกรัม)
|
รถบรรทุก 12 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 30 ตัน (30,000 กิโลกรัม)
|
รถบรรทุก 14 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 35 ตัน (35,000 กิโลกรัม)
|
รถพ่วง 18 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 47 ตัน (47,000 กิโลกรัม)
|
รถพ่วง 20, 22, 24 ล้อ
|
ต้องไม่เกิน 50.5 ตัน (50,500 กิโลกรัม)
|
ทำไมต้องมีกฎหมายควบคุมน้ำหนักรถบรรทุก
จุดประสงค์ที่ต้องมีการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด คือ
ถนนทุกเส้นทางออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักที่จำกัด การควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ช่วยให้มั่นใจว่าโครงสร้างของถนนจะไม่ได้รับความเสียหาย มีส่วนช่วยรักษาอายุการใช้งานของถนนไปได้นาน ๆ
ถ้าถนนได้รับความเสียหาย เกิดการทรุดตัวขณะขับขี่ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับรถบรรทุกและผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นได้ อีกทั้งการบรรทุกน้ำหนักเกินเกณฑ์จะทำให้คนขับควบคุมรถได้ยาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ หรือมีเทคนิคการขับรถบรรทุกที่ค่อนข้างสูง
ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตามยิ่งบรรทุกน้ำหนักมากเท่าไหร่ รถก็จะยิ่งเคลื่อนตัวได้ช้ามากขึ้นเท่านั้น การควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด มีส่วนช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดได้
ตั้งแต่ 1 ม.ค. 67 เป็นต้นไป รถบรรทุกต้องติดตั้งอุปกรณ์กันชน
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกกำหนดให้รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า 3,500 กิโลกรัมขึ้นไป (ยกเว้นรถที่มีการใช้งานเฉพาะกิจบางลักษณะ) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง LPD : Lateral Protection Device และด้านท้าย RUPD : Rear Underrun Protection Device ให้ถูกต้องตามลักษณะรถ เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงจากอุบัติเหตุการชน
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
บรรทุกของอย่างไรให้ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมาย
รถบรรทุก เป็นยานพาหนะที่นิยมใช้ในธุรกิจขนส่ง การเลือกซื้อยี่ห้อรถบรรทุกที่ได้รับความนิยม มีความน่าเชื่อถือในอุตสาหกรรมรถบรรทุก ช่วยสร้างความสบายใจให้กับผู้ซื้อได้ก็จริง แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อนำรถบรรทุกมาใช้งานก็คือ วิธีการบรรทุกของให้มีความปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยวิธีการดังนี้
กฎหมายกำหนดให้รถบรรทุกที่บรรทุกสินค้าต้องคลุมผ้าใบ และต้องมีอุปกรณ์ล็อกเพื่อความปลอดภัยด้วย หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท โดยผ้าใบคลุมรถบรรทุกจะต้องเป็นผ้าใบสีทึบยึดติดกับตัวรถ ป้องกันไม่ให้ของตกลงมาจนทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น
สายรัดโพลีเอสเตอร์
สายรัดโพลีเอสเตอร์เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับการบรรทุกของ เนื่องจากมีความแข็งแรงสูง น้ำหนักเบา ทนทานต่อแรงดึง แรงกระแทก เหมาะสำหรับการใช้งานในสภาพอากาศร้อน และที่สำคัญราคาไม่แพง เหมาะสำหรับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย
สรุป กฎหมายน้ำหนักรถบรรทุก 2567
การปฏิบัติตามกฎหมายน้ำหนักรถบรรทุก เป็นการสร้างความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม เพื่อปกป้องโครงสร้างถนนและช่วยส่งเสริมเรื่องความปลอดภัย การบรรทุกน้ำหนักตามกฎหมายกำหนด ยังช่วยผู้ประกอบธุรกิจขนส่งประหยัดต้นทุนได้ในระยะยาว เพราะการบรรทุกน้ำหนักเกินจะยิ่งทำให้รถบรรทุกสึกหรอเร็ว และยังช่วยลดความเสี่ยงที่สินค้าจะถูกกระแทก หรือเสียหายระหว่างขนส่งด้วย นอกจากนี้เจ้าของรถบรรทุก ยังสามารถใช้ประโยชน์จากรถได้ด้วยการนำมาขอสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุก เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ให้คุณมีเงินสำรองฉุกเฉิน มีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการทำธุรกิจได้อย่างราบรื่น
ที่มา: กรมประชาสัมพันธ์