หน้าแรก บทความ ไลฟ์สไตล์ เตรียมสอบ ก.พ. ยังไงให้สอบผ่านในครั้งเดียว

เตรียมสอบ ก.พ. ยังไงให้สอบผ่านในครั้งเดียว

เตรียมสอบ ก.พ. ยังไงให้สอบผ่านในครั้งเดียว
รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

"การสอบ ก.พ." เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับคนที่ตั้งใจจะเข้ารับราชการ เป็นการสอบคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รับใช้ประชาชน ดังนั้น การคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุด จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของภาครัฐ การทำความเข้าใจขั้นตอนการสมัครสอบตั้งแต่ต้น จะช่วยให้คุณวางแผน และเตรียมสอบ ก.พ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบผ่านได้มากยิ่งขึ้นด้วย

การสอบ ก.พ. คืออะไร

การสอบ ก.พ. คืออะไร

การสอบ ก.พ. คือ การสอบคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ เพื่อให้ได้ข้าราชการที่มีคุณภาพ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ของประเทศ การสอบ ก.พ. จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยส่วนราชการต่าง ๆ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แบ่งออกเป็น 3 ภาค ผู้เข้าสอบจะต้องสอบให้ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ของภาค ก. ก่อน จึงจะสอบในขั้นต่อไปได้ ตามลำดับดังนี้

  1. ก.พ. ภาค ก. เป็นการสอบวัดความรู้ ความสามารถทั่วไป (มีทั้งแบบ Paper & Pencil (ฝนคำตอบลงบนกระดาษ) และ e-Exam (คลิกเลือกคำตอบบนคอมพิวเตอร์)
  2. ก.พ. ภาค ข. เป็นการสอบวัดความรู้ ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
  3. ก.พ. ภาค ค. เป็นการสอบสัมภาษณ์

คุณสมบัติของผู้เข้าสอบ ก.พ.

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันปิดรับสมัครสอบ และไม่มีการกำหนดอายุสูงสุด)
  • ผู้ที่จบการศึกษาแล้ว หรือผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช. ปวท. ปวส. อนุปริญญา ปริญญาตรี หรือปริญญาโท
  • ต้องเป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนี้
  • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  • เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ.
  • เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
  • เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม
  • เป็นกรรมการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
  • เป็นบุคคลล้มละลาย
  • เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
  • เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
  • เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
  • เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ

การสอบ ก.พ. ภาค ก มีขั้นตอนทั้งหมดยังไงบ้าง

  1. กรอกข้อมูล และยืนยันการสมัครสอบผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ. job3.ocsc.go.th
  2. อัปโหลดรูปถ่าย และพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน (รูปถ่ายต้องเป็นหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ และถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  3. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสอบ 330 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน "Krungthai Next" หรือ "เป๋าตัง" (ภายในเวลา 22.00 น. ของวันถัดจากวันที่ยืนยันการสมัครสอบ) 
  4. เปลี่ยนรูปถ่าย (เฉพาะผู้ที่อัปโหลดรูปผิดพลาด อนุญาตให้เปลี่ยนได้เพียง 1 ครั้ง)
  5. ประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบ
  6. ประกาศกำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ และพิมพ์บัตรประจำตัวสอบ
  7. วันสอบ ก.พ. ภาค ก
  8. ประกาศรายชื่อผู้สอบ ก.พ. ภาค ก ผ่าน
  9. ดูผลคะแนนสอบ
  10. พิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน

อยากสมัครสอบ ก.พ. เงินติดล้อแนะนำให้กรอกข้อมูลล่วงหน้า

ในแต่ละปี สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะเปิดให้กรอกข้อมูลล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ job3.ocsc.go.th (ไม่ใช่การกรอกเพื่อสมัครสอบ) เป็นการสำรวจเบื้องต้นว่ามีผู้สนใจสมัครสอบ ก.พ. มากน้อยแค่ไหน ช่วยให้ผู้ที่สนใจตรวจสอบสถานะใบผ่านภาค ก. ของตนเองก่อนวันรับสมัครจริง ว่าคุณมีคุณสมบัติครบถ้วน หรือมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ ทำให้การสมัครสอบในวันจริงเป็นไปอย่างราบรื่น และรวดเร็วมากขึ้น

ก.พ. ภาค ก. สอบอะไรบ้าง ต้องได้คะแนนเท่าไหร่ถึงจะผ่านเกณฑ์

ก.พ. ภาค ก. สอบอะไรบ้าง

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ก.พ. ภาค ก สอบอะไรบ้าง? เป็นการสอบวัดความรู้ ความสามารถทั่วไป มีข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อ ให้เวลาในการทำ 3 ชั่วโมง (ใช้เวลาทำเฉลี่ยข้อละ 1.8 นาที) โดยจะแบ่งเป็น 3 วิชา แต่ละวิชาต้องทำคะแนนให้ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนด ดังนี้

1. วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (ข้อสอบ 50 ข้อ 100 คะแนน)

ข้อสอบจะแบ่งเป็น 3 ตอน คือ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา (ภาษาไทย) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม (คณิตศาสตร์) และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ (คณิตศาสตร์)

คะแนนที่ผ่านเกณฑ์

  • ปวช. ปวส. ปริญญาตรี ต้องได้คะแนน 60% ขึ้นไป (60 คะแนน) 
  • ปริญญาโท ต้องได้คะแนน 65% ขึ้นไป (65 คะแนน)

2. วิชาความสามารถทางภาษาอังกฤษ (ข้อสอบ 25 ข้อ 50 คะแนน)

ข้อสอบจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ หลักไวยากรณ์ (Grammar), การสนทนา (Conversation), คำศัพท์ (Vocabulary) และการอ่าน (Reading) ในระดับเบื้องต้น คำศัพท์พื้นฐานทั่วไป

คะแนนที่ผ่านเกณฑ์

  • ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท ทุกระดับชั้นต้องได้คะแนน 50% ขึ้นไป (25 คะแนน)

3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (ข้อสอบ 25 ข้อ 50 คะแนน)

ประกอบด้วยเนื้อหากฎหมาย 6 เรื่อง คือ

  1. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อหน้าที่ราชการ
  2. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
  3. พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และแก้ไขเพิ่มเติม
  4. พ.ร.บ. ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  5. พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
  6. พ.ร.บ. มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562

คะแนนที่ผ่านเกณฑ์

  • ปวช. ปวส. ปริญญาตรี และปริญญาโท ทุกระดับชั้นต้องได้คะแนน 50% ขึ้นไป (25 คะแนน)

เตรียมสอบ ก.พ. ยังไงให้ได้คะแนนดี

การทำความเข้าใจขั้นตอนการสมัครสอบ และโครงสร้างของข้อสอบข้างต้น จะช่วยให้คุณมีแนวทางเพื่อวางแผนอ่านหนังสือสอบ ก.พ. ได้ดีขึ้น โดยหนังสือสอบ ก.พ. สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายหนังสือชั้นนำทั่วไป และอย่าลืมฝึกทำข้อสอบเก่า จับเวลาเหมือนทำข้อสอบจริง เพราะข้อสอบ ก.พ. แต่ละปี มักออกในขอบเขตจากข้อสอบเก่า บางข้อเปลี่ยนรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น บอกได้เลยว่า ฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะ ๆ มีส่วนช่วยให้สอบได้คะแนนดีอย่างแน่นอน

ตัวอย่างข้อสอบ ก.พ. โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

เมื่อสอบ ก.พ. ภาค ก. ผ่านแล้วทำยังไงต่อ

เมื่อสอบ ก.พ. ภาค ก. ผ่านเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำหนังสือรับรองการสอบผ่านมายืนยันก่อนสมัครสอบ ก.พ. ภาค ข. ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ และความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่สมัครสอบ โดยหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัครจะเป็นผู้จัดสอบ 

เมื่อสอบผ่านภาค ข. แล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือ การสอบ ก.พ. ภาค ค. เป็นการสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการสัมภาษณ์จากหน่วยงานต้นสังกัด นอกจากนี้อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย หรือทดสอบจิตวิทยา ตามความเหมาะสมของแต่ละตำแหน่ง

สรุป เตรียมสอบ ก.พ. ให้พร้อม สอบผ่านได้ในครั้งเดียว

อย่าลืมติดตามประกาศของสำนักงาน ก.พ. อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดข้อมูลสำคัญต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การสอบ ก.พ. จะสอบกี่ครั้งก็ได้ สามารถสมัครสอบใหม่ได้ทุกปี และถ้าสอบผ่านแล้วผลสอบไม่มีวันหมดอายุด้วย ต้องยอมรับว่าหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนตัดสินใจเข้ารับราชการ คือ ความมั่นคงทางการเงิน แต่ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไร ถ้ากำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน อยากกู้เงินด่วน เงินติดล้อมีบริการสินเชื่อทะเบียนรถ เพียงนำเล่มทะเบียนรถมาเปลี่ยนเป็นเงินก้อนได้ง่าย ๆ ให้คุณมีเงินทุนสำรองไปใช้จ่ายฉุกเฉิน เป็นตัวเลือกที่จะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินได้เช่นกัน

รถของคุณผ่อนหมดแล้วหรือยัง?
หมายเหตุ ผ่อนรถอยู่ก็ขอกู้ได้ เพียงคุณมีประวัติชำระที่ดี … เงินติดล้อก็รับ
กรุณากรอกชื่อภาษาไทย
กรุณากรอกนามสกุลภาษาไทย
กรุณากรอกเฉพาะตัวเลข

การกดยืนยันข้อมูล แสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 14 - 24% ต่อปี

เงินติดล้อ

บทความโดย

เงินติดล้อ

ผู้มุ่งหวังให้สังคมไทยมีสุขภาพทางการเงินที่ดีขึ้น