ไม่ว่าประเทศไทยจะเดินทางเข้าฤดูไหน ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงกลางวันนั้นอากาศร้อนสุด ๆ จนทำให้คิดถึงทะเล ว่าแล้วก็อยากใช้วันลาพักร้อนไปนอนชิล ๆ ที่ทะเลเหลือเกิน แต่ก็นึกขึ้นได้ว่าอากาศร้อนอย่างนี้จะต้องมีค่าไฟที่สูงขึ้น แถมของกินของใช้แพงขึ้น เช่น น้ำมัน ไข่ไก่ เนื้อหมู ฯลฯ เงินติดล้อจึงอยากให้ทุกคนระวังเรื่องการใช้เงินให้มากขึ้น เพราะช่วงนี้มีแก๊งมิจฉาชีพออนไลน์ที่เป็นคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินออกอาละวาดเต็มไปหมด ดังนั้น มาดูกันว่าโจรออนไลน์ชอบใช้มุกอะไรหลอกให้โอนเงินกันบ้างนะ
สำหรับคุณที่รักในการฟัง Podcast เงินติดล้อมีช่องทางให้คุณได้ติดตามความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเงินสนุกสุดเพลิดเพลินแล้ว โดยใน EP.13 มุกหลอกให้โอนเงินของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีให้บริการทั้งใน Spotify, Podbean
ผู้ดำเนินรายการ
- คุณ มิ่งขวัญ ประเสริฐศิวพร (Training Specialist, Financial Education)
- คุณ รมิดา บุศยรินทร (Happy Money Trainers)
ปี 2564 คนไทยโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินร่วมพันล้าน!
ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงและน่าอึ้งสุด ๆ เพราะเงินติดล้อก็ไม่คิดว่าคนไทยที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินจะมีจำนวนมากถึงพันล้าน เรียกได้ว่าเป็นยอดที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยเลยจริง ๆ! ซึ่งเรื่องนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดเผยรายงาน “กลโกงทางการเงินใกล้ตัวกว่าที่คิด” เอาไว้ว่า ในปี 2564 คนไทยถูกแก๊งมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินทั้งหมด 6.4 ล้านครั้ง เมื่อเทียบกับปี 2563 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 270% และทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิสูจน์แล้วว่า ในปี 2563 คนไทยถูกหลอกให้โอนเงินอยู่ที่ 700 ล้านบาท และในปี 2564 อยู่ที่ 1,500 ล้านบาท เรียกได้ว่ายอดสูงขึ้นเป็นเท่าตัว
เงินติดล้อแชร์ประสบการณ์จริง เมื่อโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอก
เงินติดล้อมั่นใจว่าต้องมีหลายคนเจอแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินแน่ ๆ ซึ่งทีมเงินติดล้อก็เจอเหมือนกันครับ แต่ในกรณีที่กำลังจะยกตัวอย่างนี้ คือคุณแม่ที่เป็นผู้สูงอายุ ได้รับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้เบอร์โทรหลอกลวงโทรมาขอข้อมูลส่วนตัว ซึ่งข้อมูลที่คุณแม่ได้บอกไป คือ
- ชื่อและนามสกุล
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน
- เลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน
หลังจากนั้นคุณแม่จึงเปิดแอปพลิเคชันธนาคารเพื่อจะโอนเงินให้พวกแก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า “ทำไมต้องโอนเงินให้ด้วย? หรือว่าจะเป็นเบอร์โทรหลอกลวงให้โอนเงิน” เพราะถ้าเป็นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน ธนาคารน่าจะส่งจดหมายที่เป็นทางการมามากกว่าจะโทรมาแบบนี้
แต่สิ่งที่ทำให้คุณวิตกกังวลหนักมากคือเมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงินได้ข้อมูลไปแล้วจะเอาข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ไปทำอะไรบ้าง หรือไปทำอะไรที่มันผิดต่อหลักกฎหมายหรือเปล่า ดังนั้น ต่อให้คุณแม่ท่านนี้ไม่ต้องเสียเงินให้แก๊งหลอกโอนเงิน แต่สุดท้ายคุณแม่ก็ต้องเสียสุขภาพจิตเรื่องข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลไปอยู่ดี
ส่องเบื้องหลัง! แผนการร้ายของแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงิน
ยิ่งเราหาวิธีหลีกเลี่ยงแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินมากเท่าไหร่ พวกโจรมิจฉาชีพก็ยิ่งคิดค้นวิธีใหม่ ๆ มาหลอกให้ผู้เคราะห์ร้ายตายใจมากขึ้นอยู่ดี ยิ่งถ้าใครไม่ค่อยได้เล่นโซเชียลหรือตามข่าวเลย อาจจะไม่คิดทันมุกหลอกให้โอนเงินของพวกโจรออนไลน์ เพราะโจรพวกนี้จะหยิบชีวิตประจำวันมาสร้างเรื่องราวหลอกลวง
ดังนั้น เพื่อรู้เท่าทันพวกโจรตัวร้าย เงินติดล้อจึงจะแบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน คือ
- มุกหลอกให้โอนเงินของแก๊งคอลเซ็นเตอร์
- วิธีสังเกตและรับมือจากแก๊งหลอกให้โอนเงิน เพื่อให้คุณทำความเข้าใจและไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของโจรอีกต่อไป ถ้าพร้อมกันแล้ว ก็เชิญเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้แก้เผ็ดโจรตัวร้ายได้เลย
บอกต่อ! มุกหลอกให้โอนเงินจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ชอบใช้บ่อย ๆ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์สร้างเรื่องว่าโทรมาจากศาลอาญา
ถ้าเปิดประโยคว่ามาจากศาลอาญา ใครบ้างครับที่จะไม่กลัว แม้ว่าจะไม่ได้ทำอะไรผิดเลยก็ตาม แต่พอได้ยินแก๊งมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินพูดมาแบบนี้ก็ต้องมีคิดหนักบ้างล่ะว่าสรุปแล้วเราได้ไปทำอะไรเอาไว้ ทำไมถึงได้รับสายจากศาลอาญา โดยมากจะพูดว่า “คุณมียอดค้างชำระเรื่องคดีความ รีบติดต่อเพื่อจ่ายจะได้ไม่ต้องไปขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลา” ดังนั้น ถ้าสร้างเรื่องมาแบบนี้ มุกหลอกให้โอนเงินแบบนี้ยังไงก็มิจฉาชีพ เพราะว่าถ้าเป็นศาลอาญา ต้องมีจดหมายส่งมาที่บ้านพร้อมตราครุฑ ไม่ใช่โทรหรือส่ง SMS หลอกลวง มาแบบนี้
แก๊งคอลเซ็นเตอร์สร้างเรื่องว่าคุณทำผิดกฎจราจร
ถ้าคุณไม่ได้ขับรถยนต์ก็คงวางสายไปเลย แต่ถ้าคุณขับรถยนต์อยู่ทุกวันก็คงมีชะงักบ้างว่าถนนเส้นไหนหรือช่วงเวลาใดที่ไปขับรถผิดกฎจราจรเข้าจนต้องได้รับสาย แต่จริง ๆ ถ้าได้รับสายแบบนี้ด้วยมุกหลอกโอนเงินอย่างนี้ให้รู้ไว้เลยว่าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินแน่นอน เพราะจริง ๆ แล้วใบสั่งจราจรจะส่งมาให้ที่บ้านเลยต่างหากแล้วให้คุณเสียเอง ไม่มีแน่นอนที่จะโทรมาตามเป็นรายบุคคลอย่างนี้แน่นอน
แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงินโทรมาบอกว่ามีพัสดุตกค้าง
การซื้อของจากร้านค้าออนไลน์เรียกได้ว่าเป็นชีวิตประจำวันของคนไทยแล้วเพราะมันง่ายและสะดวก ช่องโหว่แบบนี้เลยทำให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงินเข้ามาสวมรอยเป็นขนส่ง แล้วบอกว่ามีพัสดุตกค้าง ถ้าอยากได้ของให้โอนเงินมาก่อน ซึ่งก็มีบางคนที่เมื่อได้รับสายแล้วเสียรู้ในที่สุด เพราะสั่งของเยอะ แล้วจำไม่ได้ว่าเป็นสั่งอะไรมาบ้าง ดังนั้น ควรระมัดระวังมุกหลอกให้โอนเงินอย่างนี้ให้ดีนะครับ อย่าหลวมตัวเด็ดขาด
แก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพขอให้โอนเงินคืน เพราะว่าโอนผิด
ถือเป็นมุกหลอกให้โอนเงินมุกแรก ๆ ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลย โดยมากแล้วมักจะโทรมาว่าขอให้โอนเงินคืน แล้วยังส่งข้อความพร้อมแนบสลิปโอนเงินปลอมมาด้วย ทำให้คนที่ได้รับสายหรือข้อความต้องรีบเช็กดูว่าใช่เรื่องจริงหรือเปล่า ถ้าคุณวิตกกังวลหนักมาก ๆ อาจโอนไปให้แก๊งมิจฉาชีพแบบไม่ได้ทันคิดให้ดีก็ได้
แก๊งมิจฉาชีพโทรมาหลอกให้โอนเงินถ้าไม่อยากโดนอายัดเบอร์โทรศัพท์
มุกหลอกให้โอนเงินของแก๊งมิจฉาชีพอันสุดท้ายคือการบอกเจ้าของเบอร์โทรศัพท์ว่า เบอร์ที่กำลังใช้งานอยู่นั้นกำลังจะถูกค่ายมือถืออายัด เพราะว่าเบอร์เข้าข่ายการกระทำผิดความหมายต่าง ๆ ในขั้นตอนแรกถ้าไม่อยากให้เบอร์สูญหายต้องรีบโอนเงินมาจ่ายค่าปรับก่อน ฟัง ๆ แล้วดูเป็นมุกหลอกให้โอนเงินที่สิ้นคิดสุด ๆ ไปเลย แต่ถ้าคุณวิตกกังวลแล้วมีภูมิต้านทานเรื่องนี้น้อย ก็อาจเสียรู้ให้โจรออนไลน์ได้เหมือนกัน
จดเลย! 3 วิธีรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินก่อนตกเป็นเหยื่อ
เบอร์โทรหลอกลวงจากคอลเซ็นเตอร์จะเป็นเลขแปลก
โดยปกติแล้วเวลามีใครโทรเข้ามาเบอร์จะปรากฏเป็น 10 หลัก แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เห็นเบอร์ยาว ๆ แปลก ๆ แล้วยังมีเครื่องหมายบวก (+) อยู่ข้างหน้า ให้เอะใจไว้ก่อนเลยว่าอาจจะเป็นเบอร์โทรหลอกลวงจากมิจฉาชีพออนไลน์แน่ ๆ เพราะเบอร์ +66 เป็นของประเทศไทย นอกจากนั้นมาจากต่างประเทศหมด แล้วใครกันที่จะโทรหาคุณจากต่างประเทศ หากคุณไม่ได้มีญาติ หรือสมัครงานเอาไว้ที่ต่างประเทศ
เบอร์โทรมิจฉาชีพขึ้นเป็นเลข 10 หลักหรือขึ้นต้น +66 ก็อย่าไว้ใจ
แม้ +66 คือหมายเลขของประเทศไทยก็จริง แต่ก็มีมิจฉาชีพใช้เบอร์นี้โทรมาครับ แล้วบางคนที่ไม่รู้เลยเผลอรับไปเพราะคิดว่าเป็นเบอร์ของคนที่รู้จัก แต่ว่าไม่ได้กดบันทึกเอาไว้ในรายชื่อ เรื่องจะใหญ่โตขึ้นมากถ้าตอนรับสายไม่มีสติเท่าไหร่ แล้วยิ่งได้ฟังข้อมูลจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์อาจกลายเป็นเหยื่อที่ต้องโอนเงินไปให้โจรแบบฟรี ๆ เพราะโจรออนไลน์จะมาพร้อมมุกหลอกลวงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ทำให้คุณตกหลุมพรางได้ง่าย ๆ
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ชอบวกเข้าเรื่องโอนเงินอยู่ตลอดเวลา
จุดประสงค์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์คือต้องการเงินจากผู้เคราะห์ร้าย ดังนั้น ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้รับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แล้วปลายสายพูดแต่เรื่องว่าต้องโอนเงิน ให้เอะใจไว้ก่อนเลยว่านี่คือมุกหลอกโอนเงินของแก๊งคอลเซ็นเตอร์แน่ ๆ เช่น “ธนาคารอยากให้โอนเงินมาเพื่ออายัดบัญชี” ซึ่งถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริง ไม่มีทางที่ธนาคารจะให้ลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวแล้วที่สำคัญต้องมาพร้อมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
สรุป
และนี่คือมุกที่แก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์มักหลอกให้ผู้เคราะห์ร้ายโอนเงินไปให้ โดยใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคุณมาสร้างเรื่องราว เช่น โทรมาบอกว่ามีพัสดุตกค้าง ซึ่งหลายคนก็ตกหลุมพรางเพราะมัวแต่ตกใจ แล้วก็ไม่อยากเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลา เลยตัดสินใจโอนเงินไปให้มิจฉาชีพเพื่อจบปัญหาให้เร็วที่สุด สุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนั้น เงินติดล้อหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินได้นะครับ!
ติดตามข่าวสารหรือความรู้การเงินได้ที่ เงินติดล้อ Podcast ที่จะช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินของคุณหมุนต่อไปได้อย่างราบรื่น ผ่านช่องทางเหล่านี้เลยครับ Spotify, Podbean
ขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย