การโอนรถเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากด้วยเหตุผลทางกฎหมาย โดยเฉพาะการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายของรถคันนั้น และเพื่อให้เจ้าของรถคนเดิมมั่นใจได้ว่า หน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับรถคันนั้นจะเปลี่ยนเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของรถคนใหม่หรือผู้ซื้อ การโอนรถไม่ถูกต้องหรือการไม่โอนรถ อาจส่งผลให้เจ้าของรถคนเดิมต้องรับผิดชอบในภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับรถคันนั้นในอนาคตได้ เงินติดล้อจะแนะนำการดาวน์โหลดเอกสารโอนรถจากกรมขนส่งทางบกที่จำเป็นต้องใช้ พร้อมวิธีกรอกได้อย่างถูกต้อง
โอนตรงหรือโอนลอย
ก่อนดาวน์โหลดเอกสารโอนรถต้องรู้ก่อนว่าการซื้อขายรถครั้งนี้จะโอนตรงหรือโอนลอย เพราะการเตรียมเอกสารหรือแบบฟอร์มโอนลอยรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์จะแตกต่างกันเล็กน้อย
- การโอนรถแบบโอนตรง เป็นการที่เจ้าของรถคนเดิม (ผู้ขาย) และเจ้าของรถคนใหม่ (ผู้ซื้อ) ไปดำเนินการโอนรถด้วยตัวเองที่กรมขนส่งทางบก การโอนกรรมสิทธิ์รถก็จะสมบูรณ์ทันที
- การโอนรถแบบโอนลอย เป็นการที่เจ้าของรถคนเดิม (ผู้ขาย) เซ็นชื่อช่องผู้โอนในแบบคำขอโอนและรับโอนเอาไว้ก่อน โดยที่จะยังไม่มีชื่อผู้รับโอน หรือมีแล้วแต่ยังไม่ได้ทำเรื่องโอนรถอย่างสมบูรณ์ที่กรมขนส่ง (มักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ซื้อที่เป็นเจ้าของเต็นท์รถ)
แบบฟอร์มเอกสารการโอนรถยนต์ทุกประเภท
ดาวน์โหลดเอกสารสำคัญเพื่อใช้ในการโอนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ แบบฟอร์มโอนรถต่างๆ จากกรมขนส่งที่จำเป็นต้องใช้
ตัวอย่าง การเขียนแบบคำขอโอนและรับโอน
ตัวอย่าง การเขียนหนังสือมอบอํานาจโอนรถ
เมื่อซื้อรถมือสองจะต้องโอนรถภายในกี่วัน เงินติดล้อจะบอกให้
ใครที่กำลังจะซื้อขายรถมือสองเป็นครั้งแรกอาจจะยังไม่รู้ว่า เมื่อซื้อรถมือสองจะต้องโอนรถภายใน 15 วันนับจากวันที่ทำสัญญาซื้อขายรถกัน ถ้าไม่รีบดําเนินการต่อนายทะเบียนที่กรมขนส่งทางบกภายใน 15 วัน จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนโอนรถด้วยตัวเอง
เมื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มโอนรถต่างๆ พร้อมกรอกข้อมูลตามตัวอย่างข้างต้นเรียบร้อยแล้ว ยังมีเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต้องเตรียมให้พร้อมก่อนนำไปยื่นเรื่องที่ฝ่ายงานทะเบียน กรมขนส่งทางบก จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทั้งหมด ซึ่งการโอนรถจะต้องนำรถไปที่กรมขนส่งทางบกด้วยเพื่อทำการตรวจสภาพรถ เช็กเลขตัวถัง และสภาพรถว่าตรงกับใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือไม่
โอนรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
- เล่มทะเบียนรถ หรือ ใบคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของรถคนเดิม (ผู้ขาย)
(กรณีนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของรถคนใหม่ (ผู้ซื้อ)
(กรณีนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม)
- สำเนาป้ายภาษี หรือสำเนาใบเสร็จจากกรมขนส่งของรถคันที่ต้องการซื้อขาย
- แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน
- สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จ และใบกำกับภาษี
- กรณีโอนลอย ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของรถคนเดิม (ผู้ขาย) หรือเจ้าของรถคนใหม่ (ผู้ซื้อ) ที่ไม่ได้ไปดำเนินการด้วยตัวเอง
โอนรถยนต์เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ค่าโอนรถยนต์ 2567 กี่บาท? เตรียมค่าใช้จ่ายให้พร้อมเพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ ดังนี้
- ค่าคำขอ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมโอนรถยนต์ 100 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ 500 บาทต่อราคาประเมินรถทุก 100,000 บาท
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีที่เจ้าของรถคนใหม่ต้องการเปลี่ยน)
- ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนเก่า ชำรุด หรือฉีกขาด)
- ค่าปรับโอนล่าช้า > 15 วัน 200 บาท นับจากวันที่ลงในใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (ถ้ามี)
สรุป แบบฟอร์มเอกสารการโอนรถยนต์
เมื่อมีการซื้อขายรถเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นรถประเภทใดก็ตาม จะต้องเปลี่ยนชื่อจากเจ้าของคนเดิมเป็นเจ้าของคนใหม่เสมอ ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เป็นการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือการเปลี่ยนสิทธิในการเป็นเจ้าของรถคันนั้น โดยแบบฟอร์มเอกสารการโอนรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์จะใช้เอกสารเหมือนกัน เมื่อการโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว คุณก็จะสามารถใช้รถคันนั้นได้อย่างสบายใจ อีกทั้งยังสามารถนำรถไปขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายหรือต่อยอดทางธุรกิจได้อีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เราพร้อมบริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง!
ขอบคุณข้อมูลจาก: ตรอ.เมืองยอง