ถ้าสังเกตบนท้องถนนให้ดีจะพบว่ามีรถบรรทุกขนส่งสินค้าหลายประเภท บ้างก็เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ รถบรรทุก 10 ล้อ หรือรถพ่วง จึงเกิดคำถามเอะใจว่า ในประเทศไทยมีประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายกี่ประเภท ที่ใช้ขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับ มีกฎหมายความสูงรถบรรทุกกำกับเอาไว้ไหม แล้วถ้าอยากขอสินเชื่อรถบรรทุกกับเงินติดล้อ จะต้องเป็นรถบรรทุกประเภทใดบ้างนะ?
ทำไมประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายต้องมีหลายประเภท?
เนื่องจากประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการเกษตรที่เยอะมาก เช่น ปลูกไร่อ้อย ปลูกข้าว โรงฆ่าสัตว์ รับถมดิน ขนแก๊ส ฯลฯ การมีประเภทรถบรรทุกหรือรถขนส่งสินค้าให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภทจึงตอบสนองให้ตรงกับลักษณะของสินค้าที่ใช้ขนส่ง รวมไปถึงการเข้าถึงแหล่งพื้นที่ที่รถขนส่งต้องใช้สัญจรไปมาด้วย เช่น
- ทำไร่ทำสวน ผลผลิตที่ได้มาและเตรียมนำส่งออกเป็นพืชผักผลไม้ ส่วนมากแล้วจะเป็นรถบรรทุกสิบล้อที่มีผ้าใบคลุมเพื่อป้องกันการหล่นของสินค้า หรือรถพ่วงเพื่อขนสินค้ารอบเดียว
- เนื้อสัตว์ เนื้อไก่ เนื้อหมู ผลผลิตที่ได้มาเป็นของสดรถบรรทุกขนส่งสินค้าต้องมีการรักษาอุณหภูมิที่คงที่เพื่อรักษาความสดเอาไว้ให้ได้นานที่สุดจนกว่าจะถึงมือลูกค้า
ดังนั้น การมี
ประเภทรถบรรทุกหรือรถขนส่งสินค้าให้เลือกใช้หลายประเภท จึงตอบโจทย์การทำธุรกิจได้ดีที่สุด เมื่อเลือกใช้รถถูกประเภท สินค้าก็เสียหายน้อยลงและสร้างกำไรได้มากขึ้นนั่นเอง
ประเภทรถบรรทุก รถขนส่งสินค้าตามกฎหมาย มีกี่ประเภท?
กรมการขนส่งทางบก ได้ระบุไว้ว่า รถบรรทุกเป็นรถที่ใช้ขนสัตว์หรือสิ่งของเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าจ้างจากการทำธุรกิจ โดยประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายแบ่งออกด้วยกันเป็น 9 ชนิดตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2524) ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งประเภทรถบรรทุกสามารถแจกแจงได้ ดังนี้
-
รถกระบะบรรทุก
ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายชนิดแรกคือ “รถกระบะบรรทุก” เป็นการขนส่งสินค้าในอุตสาหกรรมในขนาดเล็ก ทำให้การขนส่งคล่องตัวมากขึ้นเพราะเป็นรถขนาดเล็ก นิยมใช้ในธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจ SME
-
รถตู้บรรทุก
รถตู้บรรทุกเป็นประเภทรถบรรทุกหรือรถขนส่งสินค้าตามกฎหมายที่มีที่นั่งผู้โดยสารแค่ตอนเดียว และพื้นที่ทั้งหมดที่เหลือมีไว้เพื่อใส่สินค้าในตู้ทึบโดยเฉพาะ นิยมใช้ในธุรกิจที่ต้องการรักษาความปลอดภัยของสินค้า เช่น เนื้อสัตว์ ของแช่เย็น เพื่อรักษาคุณภาพให้ดีจนกว่าจะถึงมือลูกค้า หรือ สินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
-
รถบรรทุกของเหลว
ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายในลำดับที่ 3 คือรถบรรทุกของเหลวตามชื่อเลยนะครับ มีไว้เพื่อบรรทุกของเหลวตามความเหมาะสมของสินค้านั้น โดยด้านหลังจะมีลักษณะเป็นหลอดหรือแทงก์ โดยมากจะพบในรถบรรทุกขนส่งสินค้าเช่น น้ำ หรือกากน้ำตาล
-
รถบรรทุกวัสดุอันตราย
รถบรรทุกวัสดุอันตราย มีลักษณะคล้ายคลึงกับรถบรรทุกของเหลว ที่ด้านหลังรถจะเป็นแท่งหลอดหรือแทงก์ไว้บรรจุสินค้า โดยมีความหนาแน่นในการป้องกันไม่ให้วัสดุรั่วไหลและมีป้ายเตือนให้ระวัง โดยจะใช้ขนส่งสินค้าที่เป็นวัสดุอันตรายทั้งสิ้น เช่น วัตถุไวไฟ น้ำมัน สารเคมีต่างๆ เป็นประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายที่พบเห็นได้บ่อยๆ บนถนนเลยครับ
-
รถบรรทุกเฉพาะกิจ
รถบรรทุกเฉพาะกิจถือเป็นประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายที่พบเห็นได้บ่อยบนท้องถนนเช่นกัน ตามชื่อเลยนะครับเฉพาะกิจที่มีไว้เพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น เช่น รถบรรทุกถังผสมคอนกรีต รถบรรทุกปูนซีเมนต์ผงของบริษัทก่อสร้างชั้นนำ รถบรรทุกเครื่องทุ่นแรงของกรุงเทพฯ รถดูดฝุ่นและรถกวาดถนนของเขต เป็นต้น
-
รถพ่วง
ประเภทรถบรรทุกขนส่งสินค้าตามกฎหมายในข้อนี้ ไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยการลากจูงเท่านั้น โดยตัวหัวรถจะเป็นตัวรถที่พร้อมขับเคลื่อน และท้ายรถจะถูกเรียกว่ารถพ่วงที่มีล้อเพลาในตัวเอง ต่อพ่วงกันด้วยอุปกรณ์ลากจูง ที่จะพบได้ คือ ขนส่งสินค้าในการบรรทุกจำนวนมาก เช่น รถขนอ้อย เป็นต้น
-
รถกึ่งพ่วง
รถกึ่งพ่วงเป็นรถบรรทุกสินค้าที่ไม่สามารถทำงานแยกจากกัน ระหว่างส่วนหัวเทรลเลอร์และส่วนท้ายที่เป็นรถพ่วงต้องรับน้ำหนักร่วมกัน (แต่สามารถถอดแยกจากกันได้) โดยหัวรถลากจะติดตั้งจานเทรลเลอร์ไว้ และจะมีกระบะไว้บรรทุกสินค้าด้านหลัง พบเห็นได้ทั่วไปในแถบชานเมือง
-
รถกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว
รถบรรทุกกึ่งพ่วงบรรทุกวัสดุยาว จะมีโครงโลหะที่ไว้บรรจุสินค้าซึ่งรองรับสินค้าได้มากที่สุดในบรรดาประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายทั้งหมด สามารถปรับความยาวช่วงล้อระหว่างรถลากจูงได้ ถ้านึกภาพไม่ออกลองนึกถึงรถบรรทุกที่มีตู้คอนเทนเนอร์ก็ได้ครับ
-
รถลากจูง
ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายลำดับสุดท้ายคือรถลากจูง เปรียบเสมือนฮีโร่เวลาที่รถเสีย เช่น ยางแตก ยางระเบิด มีหน้าที่ใช้ลากจูงตามชื่อเลยครับ เช่น ลากรถพ่วง ลากรถกึ่งพ่วง หรือรถลากจูงเวลารถเสียที่ต้องเข้าซ่อมที่อู่รถยนต์หรือศูนย์รถยนต์ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก
คำตอบคือ “ได้” แต่ในบรรดาประเภทรถบรรทุกตามกฎหมาย 9 ชนิดที่กล่าวไปข้างต้น มีอยู่ไม่กี่ประเภทที่จะเห็นได้บ่อยๆ ว่านำมาขอสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุก เช่น รถกระบะบรรทุก รถตู้บรรทุก รถพ่วง 6 ล้อ หรือรถพ่วง 10 ล้อ เพราะรถบรรทุกสินค้าเหล่านี้เป็นรถส่วนตัวที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับองค์กรใด เป็นการทำธุรกิจของตนเอง
เหตุผลที่ใช้ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมาย 3 ชนิดมาขอสินเชื่อก็เพื่อนำไปต่อยอดทางกิจการร้านค้า ให้มีเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ ให้มีเงินต่อยอดทางการค้า ให้ธุรกิจโตขึ้น และเพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ต่างจากรถประเภทอื่นที่คนขับรถบรรทุกไม่ได้เป็นเจ้าของจริงๆ จึงไม่ค่อยนิยมนำมาขอสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุก
เพราะเงินติดล้อเข้าใจดีว่าการอยากได้เงินก้อนมาหมุนต่อไปในชีวิตต้องมีความเร็วและไว ดังนั้น การจำนำทะเบียนรถบรรทุก หรือขอสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุกกับเงินติดล้อ ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน วงเงินสูงสุด 10 ล้านบาท และรับรถบรรทุกอายุสูงสุด 25 ปี ได้เงินก้อนไว้ใช้และยังมีรถบรรทุกไว้สร้างรายได้อีกด้วย
สรุป
ประเภทรถบรรทุกตามกฎหมายมีด้วยกัน 9 ชนิด ซึ่งทุกคนคงเคยพบเห็นบ่อยๆ บนท้องถนนในประเทศไทยกันอยู่แล้ว แต่สำหรับการขอสินเชื่อทะเบียนรถบรรทุก เงินติดล้อ มีรถบรรทุกไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่นำมาจำนำทะเบียนรถบรรทุก เช่น รถบรรทุกสิบล้อ รถบรรทุกหกล้อ หรือรถพ่วง เพราะรถบรรทุกเหล่านี้คนขับรถบรรทุกส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเอง ไม่ได้ขึ้นตรงกับองค์กรใด แต่เป็นคนทำธุรกิจที่มีรถบรรทุกและต้องการได้เงินก้อนมาต่อยอดธุรกิจให้เติบโตขึ้น