สำหรับผู้ที่มีงานประจำน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในทุก ๆ ต้นปีนั้นเราจะต้องทำการยื่นภาษีเงินได้ แต่ถ้าหากเราเกิดลาออกจากงาน หรือถูกไล่ออกจนขาดรายได้ แบบนี้จะต้องยื่นภาษีไหมนะ?
บทความนี้ติดล้อจะมาไขข้อข้องใจว่า ออกจากงานระหว่างปี ต้องยื่นภาษีหรือไม่? พร้อมชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ที่คุณควรทราบ เพื่อการยื่นภาษีที่ถูกต้องของคุณ
ไขข้อข้องใจ! ออกจากงานระหว่างปี ต้องยื่นภาษีไหม?
คำตอบก็คือ จำเป็นต้องยื่นภาษี อย่างแน่นอนครับ! แต่ว่าในขั้นตอนการยื่นนั้นก็จะแตกต่างกันไปตามสถานภาพในขณะนั้น โดยเงินติดล้อขอแยกออกเป็น 2 กรณีย่อย ๆ ดังนี้
-
กรณีออกจากงานแล้วเปลี่ยนงานใหม่
สำหรับกรณีนี้ไม่ยากเท่าไหร่ครับ เพียงแค่นำรายได้จากที่บริษัทเดิม และบริษัทใหม่มารวมกันแล้วยื่นภาษีได้เลย! และที่สำคัญ ต้องอย่าลืมขอหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายจากบริษัทเก่ามาด้วยนะครับ
-
กรณีออกจากงานแล้วมีรายได้จากช่องทางอื่น
สำหรับกรณีที่ออกจากงานไปแล้วมีรายได้จากช่องทางอื่น เช่น ธุรกิจส่วนตัว หรือฟรีแลนซ์ จะต้องแบ่งรายได้ออกเป็นแต่ละส่วนตามประเภทของเงินได้ครับ
โดยภาษีเงินได้นั้นจะแบ่งออกเป็น 8 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
- ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเงินเดือนนั่นเอง
- ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินที่ได้พิเศษจากงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า ฟรีแลนซ์ บำเหน็จ ฯลฯ
- ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่า Goodwill ค่าลิขสิทธิ์ หรือเงินที่ได้รับจากพินัยกรรม นิติกรรมต่าง ๆ
- ประเภทที่ 4 ได้แก่ เงินปันผล ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น หรือพันธบัตร เป็นต้น
- ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินที่ได้จากการปล่อยเช่าทรัพย์สิน เช่น บ้าน คอนโด ฯลฯ
- ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินที่ได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ฯลฯ
- ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินที่ได้จากการรับเหมาก่อสร้าง
- ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินจากการประกอบกิจการอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากประเภทที่ 1 - 7 เช่น การเกษตร การค้าขายสินค้า การขายอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
เมื่อทราบแล้วว่ารายได้ในปีนั้นของเรานั้นอยู่ในประเภทใด ก็นำไปยื่นภาษีแยกประเภทกันเท่านั้นเองครับ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณออกจากงานมาค้าขายออนไลน์ ก็ต้องยื่นภาษีเงินได้ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 8 นั่นเอง
หากออกจากงานแล้วไม่ได้ทำอะไรต่อ ต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง?
เมื่อได้ทราบกันแล้วว่าออกจากงานไปแล้วต้องยื่นภาษีอย่างไรบ้าง แต่ถ้าเกิดว่าเราออกจากงานแล้วไม่ได้ทำอะไรต่อเลยล่ะ แบบนี้จะต้องยื่นภาษียังไงบ้างนะ เรามาดูกันเลยครับ!
-
รายรับทุกอย่างในปีนั้น ๆ ต้องนำมายื่น
แม้ว่าออกจากงานมาแล้วจะไม่มีรายได้อื่น ๆ เพิ่มเติม แต่ก็ต้องนำรายรับของตลอดทั้งปีมายื่นภาษีอยู่ดีครับ ยกตัวอย่างเช่น ในปีนี้คุณทำงานที่บริษัท 7 เดือน ก็นำรายได้ของทั้ง 7 เดือนนั้นมารวมกันแล้วยื่นเท่านั้นเองครับ
-
เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต้องนำมายื่น
สำหรับบริษัทที่มีเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น จะถูกแยกย่อยออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน แต่ว่าก็ต้องนำมาคำนวณเพื่อยื่นภาษีร่วมด้วยเช่นเดียวกัน ดังนี้
- กรณีอายุงานไม่เกิน 5 ปี: ต้องนำเงินที่ได้คืนมาคำนวณเป็นเงินได้ เช่นเดียวกันกับเงินเดือนครับ
- กรณีอายุงานเกิน 5 ปี: เงินที่ได้คืนมานั้นจะถูกคำนวณแยกออกจากเงินเดือน แล้วนับเป็นรายการ เงินได้ที่จ่ายครั้งเดียวเนื่องจากออกจากงาน นั่นเองครับ
แต่มีกรณียกเว้นที่ไม่ต้องนำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคำนวณภาษีร่วมด้วย นั่นก็คือ กรณีที่ตัวผู้ยื่นเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือภาษีมีอายุตั้งแต่ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปครับผม
-
รายได้ชดเชยต้องนำมายื่นภาษีหรือไม่?
อย่างที่ทราบกันดีว่า ยังมีกรณีที่ออกจากงานแล้วได้รับเงินชดเชย แต่จะต้องนำมาคำนวณภาษีหรือไม่นั้น กรณีนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท แตกต่างกันดังนี้
- เงินชดเชยจากการโดน เลิกจ้าง: สำหรับเงินก้อนนี้นั้น จะได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และไม่จำเป็นต้องนำมาคำนวณเพื่อยื่นภาษีด้วยครับ
- เงินชดเชยจากการ ลาออก โดยสมัครใจ: สำหรับกรณีนี้ เนื่องจากว่าคุณเป็นฝ่ายสมัครใจลาออกเอง เพราะฉะนั้น เงินชดเชยก้อนนี้จึงต้องถูกนำไปคำนวณเพื่อยื่นภาษีด้วยนั่นเองครับ
เพิ่มเติม เงินติดล้ออยากจะขอให้กำลังใจทุกคนที่กำลังว่างงานว่า อย่าเพิ่งท้อแท้นะครับ ในช่วงที่คุณยังไม่มีอะไรทำ เงินติดล้อขอแนะนำให้คุณลองอ่านบทความนี้ พลิกวิกฤตช่วงตกงานเพื่อเตรียมตัวรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามา ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะมีงานที่ดีและเหมาะสมกับคุณรออยู่ก็ได้
ต้องการเงินสดฉุกเฉิน เงินติดล้อช่วยคุณได้!
เท่านี้ก็ได้ทราบกันแล้วว่ากรณีที่ออกจากงานนั้นจะต้องมีกระบวนการยื่นภาษีกันอย่างไรบ้าง แต่ถ้าหากคุณตกงานกะทันหัน แล้วจำเป็นต้องใช้เงินสดฉุกเฉิน ลองปรึกษาเงินติดล้อดูสิครับ!
เรามีสินเชื่อทะเบียนรถมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์ รถเก๋ง หรือแม้แต่รถกระบะก็สามารถยื่นเรื่องขอสินเชื่อกับเราได้ อนุมัติไว พร้อมให้ราคาประเมินสูงแต่อัตราดอกเบี้ยเป็นธรรมต่อลูกค้าทุกคนอย่างแน่นอน รับรองว่ามีเงินสดฉุกเฉินไว้ใช้ทันใจคุณอย่างแน่นอน