การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือการผ่อนสินค้าต่างๆ ในบางครั้งอาจจะมีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้เงินก้อนกะทันหัน สินเชื่อจึงกลายเป็นอีกหนึ่งในทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินไปหมุนเวียนให้สภาพคล่องทางการเงินนั้นดีขึ้น ทว่าก็ไม่ใช่ทุกคนที่มีแนวทางการเลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับตัวเอง
ทำไมจะต้องพิถีพิถันในการเลือกสินเชื่อขนาดนี้ บทความนี้จะมาแนะนำเกี่ยวกับสินเชื่อว่าควรเลือกอย่างไรให้คุ้มและดี ผ่อนกี่ทีก็ยังมีเงินเหลือ
ทำไมต้องมีสินเชื่อส่วนบุคคล
ไม่ใช่ทุกคนที่มีต้นทุนชีวิตเพียงพอ แม้ว่าจะทำกิจการไปแล้วแต่ในการขยับขยายก็อาจขาดทุนทรัพย์ที่จำเป็น หรืออาจมีเหตุฉุกเฉิน จนต้องใช้เงินก้อนใหญ่ สินเชื่อเป็นสิ่งที่จะเข้ามาช่วยเหลือตรงจุดนั้น
สินเชื่อส่วนบุคคลคือการยื่นขอเงินก้อนจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาใช้จ่ายตามความประสงค์ที่ผู้ยื่นระบุไว้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้หนี้ ใช้เป็นค่ารักษา โดยจะมีระยะเวลาการกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน บางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องมีบุคคลค้ำประกันด้วย ซึ่งเงินที่ได้จะสูงกว่าบัตรกดเงินสดเพราะมีการตรวจสอบที่เข้มงวดและละเอียดกว่า
ข้อดีของสินเชื่อส่วนบุคคลอีกประการคืออนุมัติไว เพียงไม่กี่วันก็สามารถอนุมัติและได้รับเงินไปทำในสิ่งที่ต้องการได้แล้ว เมื่อรวมกับเหตุผลที่ผ่านมา ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลได้รับความนิยมอย่างมากและมีการเพิ่มรูปแบบขึ้นมากเช่นกัน เพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนคนทั่วไปให้ได้มากที่สุด
การเลือกสินเชื่อส่วนบุคคล
แนวทางการเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลที่ดีที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
-
เปรียบเทียบผู้ให้บริการสินเชื่อจากจุดประสงค์ของการขอสินเชื่อของตน : คุณต้องการจะนำเงินก้อนที่ได้ไปทำสิ่งใด เช่น ค่ารักษา ค่าซ่อมบ้าน ต่อเติมบ้าน ไปจนถึงค่าเทอมลูกหรือการลงทุน การระบุจุดประสงค์ในการใช้เงินให้ชัดเจน มีระเบียบแบบแผน จะทำให้สามารถใช้เงินที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทางที่ดีก่อนยื่นขอสินเชื่อควรสำรวจตนเองก่อนว่ามีแผนการใช้เงินต่อเดือนมากแค่ไหน จะเพิ่มภาระมากน้อยอย่างไรหากต้องจ่ายค่างวดในแต่ละเดือน
รวมไปถึงแนวทางการอนุมัติของผู้ให้บริการต่างๆ ที่จะแตกต่างกันออกไป เช่น การกู้ยืมเพื่อนำไปเป็นทุนการศึกษา ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจมีโปรโมชั่นทำให้ผู้ยื่นขอสินเชื่อเสียเงินน้อยกว่ามาก หากขอได้ตรงตามรูปแบบที่กำหนดไว้
-
สังเกตระยะเวลาการกู้ อัตราดอกเบี้ย : โดยส่วนมากแล้วเงินก้อนที่ได้มาจากการยื่นขอสินเชื่อมักได้ประมาณ 5 เท่าของเงินเดือน เช่น ถ้ามีเงินเดือน 15,000 บาท เงินที่ได้รับอนุมัติก็จะอยู่ราวๆ 75,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยูกับทางผู้ให้บริการสินเชื่อด้วย
ซึ่งระยะเวลาการให้สินเชื่อก็จะมีตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึง 60 เดือน แล้วแต่สัญญากำหนดไว้ โดยจะคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก Effective Rate ซึ่งมีอัตราอยู่ที่ 9-28% ต่อปี ยิ่งเงินต้นเหลือน้อยมากเท่าไหร่ก็จ่ายดอกเบี้ยน้อยลงเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ให้บริการสินเชื่อบางบริษัทยังมีการงดเว้นค่าธรรมเนียมกรณีจ่ายโปะปิดบัญชีก่อนเวลาอีกด้วย
-
เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ : ในการขอสินเชื่อมักมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการยื่นขออยู่ โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อ ค่าปรับ
- ค่าใช้จ่ายให้หน่วยงานราชการ เช่น ค่าอากรสแตมป์
- ค่าใช้จ่ายให้บุคคลภายนอก เช่น ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบบัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายในกรณีเงินไม่พอจ่าย
- ค่าใช้จ่ายที่เป็นทุนในการดำเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในกรณีทวงหนี้ ค่าใช้จ่ายในกรณีตรวจสอบเอกสาร
ทั้งนี้ทั้งนั้นอัตราค่าธรรมเนียมของผู้ให้บริการสินเชื่อแต่ละเจ้าก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยพิจารณาจากทั้งความเป็นไปได้ของผู้ยื่นขอสินเชื่อและปัจจัยภายนอกอื่นๆ ด้วย
-
ตรวจสอบคุณสมบัติการกู้เงินของตนเอง : บางครั้งการยื่นขอสินเชื่อไม่ผ่าน อาจเกิดจากเงื่อนไขของผู้ยื่นไม่ตรงตามระเบียบบางอย่างที่ทางผู้ให้บริการสินเชื่อกำหนด เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และอายุไม่เกิน 60 ปี
นอกเหนือจากด้านอายุก็มีอาชีพที่เป็นอีกประเด็นสำคัญ หากเป็นอาชีพที่ไม่มีรายได้แน่นอนอาจทำให้ยื่นขอสินเชื่อวงเงินสูงได้ยาก
-
ดูความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง : โดยส่วนมากแล้วการยื่นขอสินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ยื่นมีความสามารถในการชำระหนี้หรือเปล่า แม้ว่าคุณสมบัติครบ แต่ถ้าผู้ยื่นขอสินเชื่อมีภาระหนี้สินโดยรวมสูงเกินไป เช่น สูงเกิน 60% ของรายรับ ก็อาจไม่ได้รับการพิจารณา
โดยทางผู้ให้บริการสินเชื่อจะเข้าไปตรวจสอบประวัติเครดิตผ่านทางเครดิตบูโร ว่ามีการผิดนัดชำระหรือไม่ หากมีประวัติว่าชำระล่าช้าหรือผิดชำระ และมีท่าทีแสดงให้เห็นว่ามีความเสี่ยงที่จะผิดชำระในครั้งต่อๆ ไป ทางผู้ให้บริการสินเชื่อก็อาจพิจารณาให้ไม่ผ่านเช่นกัน
เอกสารที่ต้องเตรียมหากยื่นขอสินเชื่อ
หากมั่นใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบ และต้องการยื่นขอสินเชื่อส่วนบุคคลจริงๆ ก็มีเอกสารที่ต้องเตรียมขั้นต้นดังต่อไปนี้ครับ
กรณีบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชน
- สลิปเงินเดือนฉบับล่าสุด
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3-6 เดือน
- สำเนาบัญชีเงินฝากหน้าแรกของธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินเข้า
ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากทางผู้ให้บริการสินเชื่อ ควรตรวจสอบล่วงหน้าก่อนยื่นขอสินเชื่อจะเป็นการดีครับ
กรณีนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประชาชน
- หนังสือรับรองบริษัทและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
- ใบทะเบียนการค้า (กรณีไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย)
- สำเนาบัญชีเงินฝากหน้าแรกของธนาคารที่ต้องการให้โอนเงินเข้า
เฉกเช่นเดียวกับกรณีบุคคลธรรมดา กรณีนิติบุคคลเองก็อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมตามแต่ผู้ให้บริการสินเชื่อครับ ทางที่ดีควรหาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการสินเชื่อนั้นๆ หรือติดต่อสอบถามโดยตรงจะเป็นการแน่นอนกว่า
สรุปแนวทางการเลือกสินเชื่อ
แนวทางการเลือกสินเชื่อที่ดีมีหลักๆ ด้วยกัน 5 ประการครับ คือ
- เปรียบเทียบผู้ให้บริการจากจุดประสงค์ในการกู้ของตนเอง
- ระยะเวลาในการผ่อนชำระและดอกเบี้ยของผู้ให้บริการสินเชื่อเป็นอย่างไร
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ มีมากน้อยแค่ไหน
- คุณสมบัติการกู้เงินของตนนั้นตรงตามกฎหมายกำหนดหรือไม่
- มีความสามารถในการชำระเงินกู้หรือเปล่า
หากยึดตามแนวทางการชำระเงินนี้แล้วก็สามารถมั่นใจได้แล้วว่า จะได้สินเชื่อที่คุ้ม และดีอย่างแน่นอน
แต่ถ้าคุณสนใจสินเชื่ออื่นๆ นอกจากสินเชื่อส่วนบุคคล ทางเงินติดล้อเองก็มีสินเชื่อทะเบียนรถให้บริการ โดยไม่ต้องการคนค้ำ ไม่ต้องโอนเล่ม วงเงินสูง ผ่อนได้ยาวสุดถึง 60 เดือน สามารถดูรายละเอียดที่ สินเชื่อทะเบียนรถกับเงินติดล้อ หรือสอบถามพวกเราได้ที่เงินติดล้อ ทุกสาขาทั่วประเทศ พวกเรายินดีให้บริการครับ